ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ

กำลังปรับปรุง ฺBlogger นะครับ
หากมีข้อผิดพลาดขออภัยครับ


วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิชาทัศนศิลป์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3



ทัศนศิลป์ หมายถึง การมองเห็นหรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น ทำให้เกิดความงามความพอใจ และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
ทัศนศิลป์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านอารมณ์ ความต้องการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับทัศนะของแต่ละบุคคล
ทัศนศิลป์สร้างอารมณ์จิตใจ วิจิตรศิลป์ (Fine Art) เป็นศิลปะแห่งความประณีตงดงาม แบ่งออกได้5แขนง ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์
จะชี้ให้เห็นคุณค่าของวิจิตรศิลป์ ซึ่งเป็นศิลปะที่มองเห็นได้ ได้แก่
จิตรกรรม คือ ภาพวาดหรือภาพเขียน ที่มี 2 มิติ ผู้สร้างสรรค์งาน คือ จิตรกร
ประติมากรรม คือ การปั้น และการแกะสลัก ที่มี 3 มิติ ผู้สร้างสรรค์งาน คือ ประติมากร
สถาปัตยกรรม คือ การออกแบบก่อสร้างอาคารสถาน ผู้สร้างสรรค์งาน คือ สถาปนิก
งานทัศนศิลป์ แยกประเภทได้ดังนี้
 
1.จิตรกรรม (อังกฤษ : painting)
              จิตรกรรม (อังกฤษ : painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ
               จิตรกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบด้วยวิธีการลาก การระบายสีลงบนพื้นผิววัสดุที่มีความราบเรียบ เช่นกระดาษ ผ้าใบ แผ่นไม้ เป็นต้น เพื่อให้เกิดเรื่องราวและความงามตามความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการของผู้วาด
           
            ประเภทของจิตรกรรม
                   จำแนกได้ตามลักษณะผลงานที่สิ้นสุด และ วัสดุอุปกรณ์การสร้างสรรค์เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาด และ ภาพเขียน
                  1.) จิตรกรรมภาพวาด (Drawing) เรียกเป็นศัพท์ทัศนศิลป์ภาษาไทยได้หลายคำ คือ ภาพวาดเขียน ภาพ  วาดเส้น หรือบางท่านอาจเรียกด้วยคำทับศัพท์ว่า ดรอวิ้ง(Drawing) ก็มี ปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเขียนภาพและวาดภาพ ที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากมาใช้ ผู้เขียนภาพจึงจึงอาจจะใช้อุปกรณ์ต่างๆมาใช้ในการเขียนภาพ ภาพวาดในสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                             1.1 ภาพวาดลายเส้น
                             1.2 การ์ตูน

                   -                  
                    2.) จิตรกรรมภาพเขียน (Painting) ภาพเขียนเป็นการสร้างงาน 2 มิติบนพื้นระนาบด้วยสีหลายสีซึ่งมักจะต้องมีสื่อตัวกลางระหว่างวัสดุกับอุปกรณ์ที่ใช้เขียนอีก ซึ่งกลวิธีเขียนที่สำคัญ คือ
                      1.การเขียนภาพสีน้ำ (Colour Painting)
                      2.การเขียนภาพสีน้ำมัน (Oil Painting)
                     3.การเขียนภาพสีอะคริลิค (Acrylic Painting)
                     4.การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง (Fresco Painting)
                     5.จิตรกรรมแผง(Panel Painting)

ภาพ โมนาลิซา
เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก
ลักษณะของภาพจิตรกรรม งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
           1.ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่ 

 


       2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
              2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความ เหมือนของใบหน้า
            2.2 ภาพคนเหมือน(Potrait)เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคนหนึ่ง


 

     3. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ
                  3.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )
                  3.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape)
                  3.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape




4. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย

 

  5. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาตินาๆ ชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่

 

    6. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้ เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ




2. ประติมากรรม (sculpture) หมายถึง การสร้างงานทัศนศิลป์ที่เกิดจากกรปั้น การแกะสลัก การหล่อ การเชื่อม เป็นต้น โดยมีลักษณะ 3 มิติ คือ มีความกว้าง ความยาว และความหนา เช่นรูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เป็นต้น ประติมากรรมจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ แบบนูนต่ำ (bas-relief) เป็นการปั้นหรือสลักโดยให้เกิดภาพที่นูนขึ้นจากพื้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น รูปบนเหรียญต่างๆ (เหรียญบาท เหรียญพระห้อยคัว) เป็นต้น
- แบบนูนสูง (high- relief) เป็นการปั้นหรือสลักให้รูปที่ต้องการนูนขึ้นจากพื้นหลังมากกว่าครึ่งเป็นรูปที่สามารถแสดงความตื้นลึกตามความเป็นจริง เช่น ประติมากรรมที่ฐานอนุสาวรีย์ เป็นต้น
ประเภทของงานทัศนศิลป์
- แบบลอยตัว (round- relief) เป็นการปั้นหรือสลักที่สามารถมองเห็นและสัมผัส ชื่นชมความงามของผลงานได้ทุกด้านหรือรอบด้าน เช่นพระพุทธรูป เป็นต้น
ประเภทของงานทัศนศิลป์
3. สถาปัตยกรรม (Archiecture) หมายถึง ศิลปะและวิทยาการแห่งการก่อสร้างที่นำมาทำเพื่อสนองวามต้องการในด้านวัตถุและจิตใจ มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างอย่างงดงาม จำแนกออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
- แบบเปิด หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มนุษย์สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่น อาคารเรียน ที่พักอาศัย เป็นต้น
ประเภทของงานทัศนศิลป์
- แบบปิด หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่นสถูป เจดีย์
ประเภทของงานทัศนศิลป์
4. ภาพพิมพ์ (Printing) หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์ ด้วยการกดแม่พิมพ์ให้ติดเป็นภาพบนกระดาษ เช่นแม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ เป็นต้น ภาพพิมพ์สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- พิมพ์ผิวนูน (Relief process) เป็นกระบวนการพิมพ์ให้เกิดส่วนลึกและนูนหรือมีความแตกต่างทางผิวพื้นของแม่พิมพ์ด้วยการแกะ หล่อ กัดด้วยกรด หรือวิธีอื่นๆ เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์โลหะ เป็นต้น
- พิมพ์ร่องลึก (intaglio process) เป็นการพิมพ์ที่ตรงกันข้ามกับกระบวนการพิมพ์ผิวนูน ได้แก่ เอทชิง เป็นต้น
- พิมพ์พื้นราบ (planographic process) กลวิธีนี้รู้จักในนามของภาพพิมพ์หิน
- พิมพ์ฉากพิมพ์ (serigraphic process) การพิมพ์แบบนี้ที่รู้จักกันดีคือการพิมพ์ตัดกระดาษ เป็นต้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.thaigoodview.com/node/3268




                                                                      การทำภาพประติด                                                               

กำหนดส่งงานชิ้นที่ 1 การทำภาพปะติด 
                   วันที่ 7 "8"9"10"11  เดือนมกราคม  2556 หรือสัปดาห์ที่ 2 หลังปีใหม่
                                ม.3/1    ส่งวันจันทร์ที่ 7  เดือนมกราคม  2556 

                                ม.3/2    ส่งวันพุธที่  9 เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/3   ส่งวันพุธที่  9 เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/4    ส่งวันอังคารที่ 8  เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/5    ส่งวันอังคารที่ 8  เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/6    ส่งวันอังคารที่ 8  เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/7    ส่งวันพุธที่  9 เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/8    ส่งวันจันทร์ที่ 7  เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/9    ส่งวันพฤหัสบดีที่ 10  เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/10  ส่งวันจันทร์ที่ 7  เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/11    ส่งวันพฤหัสบดีที่ 10  เดือนมกราคม  2556

                                ม.3/12  ส่งวันศุกร์ที่ 11  เดือนมกราคม  2556

                                                                                                                                                                                            
    
ภาพปะติด หรือ คอลลาจ คือ การสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต้องอาศัยพื้นฐานของการวาดภาพเขียนภาพนั่นเอง แทนที่จะวาภาพแล้วระบายสี กลับใช้วัสดุที่มีรูปร่าง รูปทรง ซึ่งมีสีสันต่างๆ ปะติดลงไปจะได้ภาพตามต้องการ
            ภาพปะติด เป็นงานสื่อประสมแบบ 2 มิติ เริ่มแรกเป็นการนำเอาวัสดุที่มีลักษณะ 2 มิติ เช่น ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ กระดาษ ภาพเขียนและวัสดุอื่นๆ มาปะติดลงบนแผ่นรองรับให้เกิดเป็นภาพต่างๆ ขึ้น โดยอาจจะแต่งเติมด้วยการระบายสีหรือใช้สีของวัสดุทั้งหมด ภาพปะติดในระยะหลังเริ่มใช้วัสดุที่มีความหนามากขึ้นและหลากหลายชนิดมากขึ้น แต่ยังคงปะติดอยู่บนแผ่นพื้นระนาบเช่นเดิม
            คอลลาจ ถูกบันทึกไว้ว่ามีการใช้ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 แต่ความจริงแล้วมีมาตั้งแต่สมัย ศตวรรษที่ 18 นักบวชได้ใช้งานปะติดตกแต่งในหนังสือสวดมนต์ การ์ดอวยพรวันวาเลนไทน์ จนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดความนิยมและแพร่ขยายตัวออกไป เครื่องมือ เครื่องจักร มีวิวัฒนาการทันสมัยขึ้น ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สินค้ารูปแบบต่างๆ มากมาย กระดาษ และหนังสือพิมพ์ ผ้า ลูกปัด เกิดขึ้นพร้อมกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีวิวัฒนาการของคอลลาจเกิดขึ้นอีกมากมาย


ภาพปะติดจากเศษวัสดุ                                                                                                                            
การสร้างภาพปะติดด้วยเศษวัสดธรรมชาติ                                                                                         

     เศษวัสดุธรรมชาติที่จะนำมาใช้สร้างภาพปะติดนั้น จะต้องมีขนาดเล็กสามารถยึดติดกาวได้ และไม่เป็นอันตรายต่อการนำมาใช้ เช่น เศษเปลือกไม้ เมล็ดข้าวสาร เศษใบไม้ เป็นต้น
     การสร้างภาพปะติดด้วยเศษวัสดุธรรมชาติ มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้     

            1. เลือกเศษวัสดุธรรมชาติที่ต้องการมาทดลองวางบนกระดาษวาดเขียนแล้วออกแบบให้เป็นภาพที่ต้องการ โดยอาจใช้ดินสอร่างเค้าโครงภาพก่อนก็ได้
            2. นำเศษวัสดุที่ต้องการมาทากาว แล้วปะติดบนกระดาษวาดเขียนตามที่ได้ออกแบบไว้
            3. ตกแต่งภาพให้สวยงาม






การสร้างภาพปะติดด้วยเศษวัสดุสังเคราะห์                                                                                             
     วัสดุสังเคราะห์ที่จะนำมาสร้างภาพปะติดนั้น ควรเป็นวัสดุที่ยึดติดกาวได้ไม่เป็นอันตรายต่อการนำมาใช้ เช่น กระดุม คลิป ฝาขวด เป็นต้น
     การสร้างภาพปะติดด้วยวัสดุสังเคราะห์ มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
     1. เลือกวัสดุสังเคราะห์ที่ต้องการ มาทดลองวางบนกระดาษวาดเขียนแล้วออกแบบให้เป็นภาพที่ต้องการ โดยอาจจะใช้ดินสอร่างเป็นเค้าโครงภาพก่อนก็ได้
     2. นำเศษวัสดุที่เลือกไว้มาทากาว แล้วนำไปติดลงบนกระดาษให้เป็นภาพที่ได้ออกแบบไว้
     3. ตกแต่งภาพให้สวยงาม


5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 ธันวาคม 2560 เวลา 07:23

    ควยเล็กสาส

    ตอบลบ
  2. เลขอ้างอิงมีไหมคะ

    ตอบลบ
  3. เกมส์สล็อต (Slot Online) ก็เป็นอีกเกมหนึ่งได้เป็นที่ชื่นชอบไม่แพ้กันและจากนั้นก็ยังอยู่คู่กับคาสิโนออนไลน์มาอย่างนานอีกด้วย pg slot โดยสล็อตออนไลน์ (Slot Online) นั้นจะมีลักษณะเด่นเลยก็คือจะเป็นรูปลักษณ์ตู้เกม หรือที่เราก็จะกันหรือเคยทราบกันก็คือ เครื่องสล็อตแมชชีน นั่นเองนะครับ

    ตอบลบ
  4. สล็อต ซื้อฟรีสปิน 50 PG ฟังก์ชั่นตัวช่วยยอดฮิต ที่อยากแนะนำให้ลองสล็อตซื้อฟรีสปินถูกๆต้องเว็บนี้เว็บเดียวเท่านั้น PG SLOT พร้อมเเล้วหรือยัง ที่จะพบตัวช่วยเล่นสล็อตเเบบใหม่

    ตอบลบ

ผู้ติดตาม



วันอาสาฬหบูช


เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน


อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?



ลักษณะวลีและประโยคพื้นฐาน

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี

เรียนรู้จากนิราศ

เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ 1

ระบบคอมพิวเตอร์

การตากข้าว สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

คุณสมบัติของรัฐมนตรี

อาณาเขตประเทศไทย

Adjective ตำแหน่งของคุณศัพท์ ( Position )
ทำไมแมลงปอต้องบินไปแตะผิวน้ำ
(อ่าน 148)
ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"
(อ่าน 518)
นวดแก้ปวดไม่ใช้มือ ศาสตร์บำบัดล้านนา
(อ่าน 1021)
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
(อ่าน 1307)
ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
(อ่าน 1302)
วิธีปลูกหอมญี่ปุ่น
(อ่าน 257)
ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง
(อ่าน 641)
"มะรุม" พืชมหัศจรรย์
(อ่าน 2533)
เลค ฮิลเลอร์ ทะเลสาบสีชมพู ประเทศออสเตรเลีย
(อ่าน 1647)
10 เรื่องที่ควรรู้ ก่อนคิดจะเลี้ยง "ไซบีเรียน ฮัสกี้"
(อ่าน 398)
มาทำความรู้จัก "พริกหวาน" กันเถอะ
(อ่าน 428)
คุณประโยชน์ของ "มะเขือเทศ" ที่ดีต่อร่างกาย
(อ่าน 1670)