ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ

กำลังปรับปรุง ฺBlogger นะครับ
หากมีข้อผิดพลาดขออภัยครับ


วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

12.วิชาศิลปะ 5 ระดับชั้น ม.3 เรื่อง ทัศนศิลป์



      ทัศนศิลป์  เป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์  ซึ่งเป็นศิลปะที่เน้นคุณค่าทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ
       ทัศนศิลป์  มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Visual Art  หมายถึง  ศิลปะที่มองเห็น  หรือศิลปะที่สามารถสัมผัส  รับรู้  ชื่นชมด้วยประสาทตา สัมผัสจับต้องได้  และกินเนื้อที่ในอากาศ
       ทัศนศิลป์  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่  จิตรกรรม  ประติมากรรม  และสถาปัตยกรรม

องค์ประกอบของทัศนศิลป์ 
                องค์ประกอบของทัศนศิลป์  ทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่มีที่มาและต้องรับรู้จากการมองเห็นเป็นศิลปะที่อาศัยพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงาน จึงประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่เป็นมูลฐาน 8 ประการ คือ
                1. เส้น(line) หมายถึงจุดหลาย ๆ จุดที่เคลื่อนที่ต่อเนื่องไปในที่ว่างเปล่าจากทิศทางการเคลื่อนที่ต่าง ๆ  กัน เส้นถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับแรก ของการจัดภาพและออกแบบงานทัศนศิลป์  นอกจากนั้นเส้นที่มีทิศทางต่างๆ กันยังมีอิทธิพลต่อความรู้สึกในการมองได้ เช่น  
                       เส้นตั้งฉาก      ให้ความรู้สึก สูง เด่น สง่า มั่นคง แข็งแรง
                       เส้นระดับ       ให้ความรู้สึก สงบ แน่นอน
                       เส้นทะแยง       ให้ความรู้สึก แสดงความเร็ว ความไม่มั่งคง
                       เส้นโค้ง         ให้ความรู้สึก อ่อนน้อม เศร้า ผิดหวัง
                       เส้นคด              ให้ความรู้สึก แสดงการเคลื่อนไหวอย่างอ่อนช้อย
                       เส้นประ        ให้ความรู้สึก แสดงความไม่แน่นอน ลังเล แตกแยก 
            
                  2.รูปร่าง   หมายถึงการบรรจบกันของเส้นที่เป็นขอบเขตของวัตถุที่มองเห็นเป็น2มิติคือ  มีความกว้างและความยาว 2 ด้านเท่านั้น รูปร่างในงานทัศนศิลป์มีอยู่ 2 ลักษณะดังนี้ รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้นรูปร่างไม่ธรรมดาได้แก่รูปร่างจากธรรมชาติและรูปร่างที่เกิดการการคิดดัดแปลง
ของศิลปินอย่างอิสระ 
                  3.รูปทรง(form) หมายถึงรูปลักษณะที่มองเห็นเป็น3 มิติคือมีความกว้างความยาวและความหนาลึกประกอบด้วยรูปทรง 2 ลักษณะ ได้แก่รูปทรงพื้นฐานและรูปทรงไม่ธรรมดาเช่นเดียวกับรูปร่าง (Shape)  ต.ย. ลักษณะหนึ่งของรูปทรง

                   4.ช่องว่าง(space) หมายถึง บริเวณที่ว่างเปล่าที่เรียกกันว่า "ช่องไฟ" ช่องว่างในงานทัศนศิลป์แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ  ช่องว่างจริงหรือช่องว่างกายภาพ เป็นช่องว่างในงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่สัมผัสได้จริง
ช่องว่างลวงตาเป็นช่องว่างในงานจิตรกรรมหรือภาพพิมพ์ที่แสดงความลึกตื้นด้วยการลวงตา
ซึ่งสัมผัสไม่ได 

                  5.พื้นผิว(Texture) คุณลักษณะต่าง ๆ ของผิวด้านหน้าของวัตถุทุกชนิดที่มีลักษณะต่าง ๆ กันเช่นเรียบขรุขระเป็นมันวาวด้านเป็นต้น ลักษณะของพื้นผิวที่ปรากฏแก่สายตานั้นจะมีผลต่อประสาทแห่งความรู้สึกของผู้มองได้  
            
                  6.มวล(Mass) หมายถึงปริมาตรของวัตถุทั้งหมดที่รวมกันอยู่ในรูปทรงของงานทัศนศิลป์ที่มีลักษณะทึบต้นซึ่งส่วนมากพบในงานประติมากรรม และสถาปัตยกรรม   

                    7.สี(colour) หมายถึงลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นสีต่างกันสีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกเมื่อมองเห็น และทำให้เกิดอารมณ์ สะเทือนใจต่าง ๆ สีที่นำมาสร้างผลงานทางทัศนศิลป์เกิดจากการผสมสีต่าง ๆ เข้าด้วยกันตามทฤษฏีสี สี






องค์ประกอบทัศนธาตุ
          ทัศนธาตุ (Visual Elements)  ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง  ส่วนประกอบของศิลปะที่รวมกันเป็นรูปร่างของสิ่งหลายอย่างที่มองเห็นได้  ประกอบไปด้ว
          1. จุด (Dot)  หมายถึง  รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ  ปรากฎที่พื้นผิว  ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด 
          จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ  เช่น  นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น  และการนำจุดมาวาง
ให้เหมาะสม  ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้   

          2. เส้น (Line)  เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้  เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะทุกแขนง ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปภาพ 
          เส้น (Line)  หมายถึง  การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว  หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด 
เขียน ลาก  ให้เกิดเป็นริ้วรอย 
               - เส้นนอน  ให้ความรู้สึกกว้างขวาง  เงียบสงบ  นิ่ง  ราบเรียบ  ผ่อนคลายสายตา
               - เส้นตั้ง  ให้ความรู้สึกสูงสง่า  มั่นคง  แข็งแรง  รุ่งเรือง
               - เส้นเฉียง  ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  เคลื่อนไหว  รวดเร็ว  แปรปรวน
               - เส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนไหว  สุภาพอ่อนโยน  สบาย  นุ่มนวล  เย้ายวน
               - เส้นโค้งก้นหอย  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  การคลี่คลาย  ขยายตัว  มึนงง
               - เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา  ให้ความรู้สึกรุนแรง  กระแทกเป็นห้วง ๆ  ตื่นเต้น  สับสนวุ่นวาย  และการขัดแย้ง
               - เส้นประ  ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง  ไม่มั่นคง  ไม่แน่นอน 




       เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง  ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ  เช่น เส้นโค้งคว่ำลง  ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน  ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า  ผิดหวัง  เสียใจ  แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น  ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี  เป็นต้น 

           3. รูปร่างและรูปทรง           รูปร่าง (Shape)  หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ  มีความกว้าง  และความยาว 
          รูปร่าง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ
               - รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  คน  สัตว์  และพืช  เป็นต้น
               - รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน  เช่น  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  และรูปวงกลม  เป็นต้น
               - รูปร่างอิสระ (Free Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์  ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี  ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง  เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  รูปร่างของหยดน้ำ  เมฆ  และควัน  เป็นต้น 
          รูปทรง (Form)  หมายถึง  โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฎแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ  คือมีทั้งส่วนกว้าง  ส่วนยาว  ส่วนหนา
หรือลึก  คือ  จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง  มีเนื้อที่ภายใน  มีปริมาตร  และมีน้ำหนัก  

             4. น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value)  หมายถึง  จำนวนความเข้ม  ความอ่อนของสีต่าง ๆ  และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้  เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ  ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ  เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง 

             5. สี (Colour)  หมายถึง  สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา  ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย  เช่น  ทำให้รู้สึกสดใส  ร่าเริง  ตื่นเต้น  หม่นหมอง  หรือเศร้าซึมได้  เป็นต้น 
7. สี ( Color ) หมายถึง สีเป็นปรากฏการณ์ของแสงที่ส่องกระทบวัตถุ สะท้อนเข้าสู่ตามนุษย์ 
          สีและการนำไปใช้  
               5.1 วรรณะของสี (Tone)  จากวงจรสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ  คือ
                    - สีวรรณะร้อน  
 ( Warm Tone ) ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน  เช่น  สีเหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม  ส้มแดง  แดง  ม่วงแดง  เป็นต้น  
                         สีแดง           กล้าหาญ อันตราย เร้าใจ สะดุดตา
                         สีเหลือง       สว่างที่สุด บริสุทธิ์ แจ่มใส เลื่อมใส
                         สีส้ม            ร้อนแรง สนุกสนาน รื่นเริง เปรี้ยว
                     - สีวรรณะเย็น  ( Cold Tone )ได้แก่  สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย  เช่น  สีเขียว  เขียวเหลือง  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  เป็นต้น 

                         สีน้ำเงิน       สงบ สุขุม สันติภาพ ภูมิฐาน
                         สีเขียว         ความหวัง สดชื่น ชุ่มชื่น ร่มเย็น
                         สีม่วง           ร่ำรวย โอ่อ่า งอกงาม
                         สีขาว          สะอาด บริสุทธิ์ กระจ่างแจ้ง มั่นคง เบา


                         สีดำ            เศร้า ความตาย หนัก



               5.2 ค่าของสี (Value of colour)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย ๆ จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย ๆ เข้มขึ้นจนมืด
               5.3 สีเอกรงค์ (Monochrome)  หมายถึง  สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว  หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ โดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่  คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ
               5.4 สีส่วนรวม (Tonality)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด  เช่น  การเขียนภาพทิวทัศน์  ปรากฎสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน  เป็นต้น
               5.5 สีที่ปรากฎเด่น  (Intensity) 
               5.6 สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast)  หมายถึง  สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ  เช่น  สีแดงกับสีเขียว  สีน้ำเงินกับสีส้ม  สีม่วงกับสีเหลือง 






น้ำหนักสี ( Tone ) หรือวรรณะของสี หมายถึง ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของสีหรือค่าความอ่อนแก่ของสี ไล่ระดับกันไป เช่น ดำ – เทาเข้ม – เทากลาง – เทาอ่อน – ขาว โทนก็มีผลต่อความรู้สึกคล้ายกับสีนั่นเอง เพียงแต่จะละเอียดอ่อนมากขึ้น มีค่าความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น



น้ำหนักของสี



วงจรสีและสีวรรณะร้อน



วงจรสีและสีวรรณะเย็น


               6. บริเวณว่าง (Space)  หมายถึง  บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาาในกาารจัดองค์ประกอบใดก็ตาม  ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว 

               7. พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย  






การผสมสีจากแม่สี
          แม่สี มีสามสี ได้แก่ แดง เหลือง น้ำเงิน
                  สีแดง+สีเหลือง = สีส้ม
                  แดง+น้ำเงิน = ม่วง
                  เหลือง + น้ำเงิน = เขียว
การผสมสีของแม่สีหลัก ขั้นที่ 2 
                 แดง + ส้ม = แดงส้ม 
                 แดง + เขียว = น้ำตาล 
                 แดง + ม่วง = ม่วงแดง 
                 น้ำเงิน + ส้ม = น้ำตาล 
                 น้ำเงิน + เขียว = น้ำเงินเขียว 
                 น้ำเงิน + ม่วง = น้ำเงินม่วง 
                 เหลือง + ส้ม = ส้มเหลือง 
                 เหลือง + เขียว = เขียวเหลือง
สีที่เกิดจากการผสมของแม่สีหลักกับสีขั้นที่ 2 ถือเป็นขั้นที่ 3
                 แดง + ขาว = ชมพู 
                 แดง + ดำ = ดำอมแดง 
                 แดง + เงิน = แดงเมทัลลิค 
                 เหลือง + ขาว = ขาวอมเหลือง 
                 เหลือง + ดำ = ดำอมเหลือง 
                 เหลือง + เงิน = เหลืองเมทัลลิค 
                 น้ำเงิน + ขาว = ฟ้า 
                 น้ำเงิน + ดำ = ดำอมน้ำเงิน 
                 น้ำเงิน + เงิน = น้ำเงินเมทัลลิค




แม่สีระบบต่างๆ


 1.แม่สีจิตวิทยา  
          แม่สีจิตวิทยา เป็นสีในกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก และมีผลต่อจิตใจของมนุษย์    กล่าวคือสีที่เราพบเห็นจะสามารถโน้มน้าวชวนให้รู้สึกตื่นเต้น โศกเศร้า โดยมากมักใช้ในการรักษาคนไข้ได้ เช่นโรคประสาท หรือโรคทางจิต แม่สีจิตวิทยาสี 4 สีประกอบด้วย สีแดง  สีเหลือง  สีเขียว และสีน้ำเงิน
 2. แม่สีวิทยาศาสตร์
          แม่สีวิทยาศาสตร์เป็นสีที่เกิดจากการสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น สีของหลอดไฟ สีที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม ที่เกิดจากการสะท้อนและการหักเหของแสง แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแสด  สีเขียวมรกต  และสีม่วง
3. แม่สีศิลปะ
          แม่สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆ ไปซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมากมายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์  ผลงานที่สวยงามได้ แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแดง  สีเหลือง และสีน้ำเงิน




 คุณสมบัติของสีน้ำ 

           ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำก็คือ ความโปร่งใส ( Transparent ) เวลาระบายใช้พู่กันแตะสีละลายกับน้ำ ระบายบนกระดาษขาว พยายามระบายไปครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีต่างๆ ซ้ำหรือทับกันหลายหน เพราะจะทำให้สีหม่นขาดคุณสมบัติโปร่งใส และควรรักษาให้พู่กันสะอาดอยู่เสมอเมื่อต้องการเปลี่ยนสีใหม่

           สีน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เนื้อที่บดแล้วอย่างละเอียด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบิค ซึ่งสกัดมาจากต้นอะคาเซีย ( Acacia tree ) กาวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ละลายน้ำง่ายและเกาะติดกระดาษแน่น ทั้งยังมีลักษณะโปร่งใสอีกด้วย


คุณสมบัติของสีน้ำ

                      1) สีน้ำเป็นสีที่มีลักษณะโปร่งใส เห็นเนื้อสีบางเบา เมื่อระบายสีน้ำลงบนกระดาษจะเห็นความใสของสีบนพื้นผิวกระดาษ

                  2) การกระบายสีน้ำจะต้องรู้จักการรอคอยจังหวะเวลา เพื่อกำหนดความชุ่มเปียก ความหมาดของพื้นผิวกระดาษในขณะที่ระบายสี เพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการ

                     3) เมื่อต้องการให้สีดูสดใสชุ่มฉ่ำก็ให้ระบายสีน้ำสะอาดลงบนพื้นผิวกระดาษก่อนพอหมาด ๆ แล้วจึงลงสี สีที่ลงไปจะซึมเห็นความใสสวยงาม

                     4) ส่วนใดของภาพที่สว่างเป็นสีอ่อนก็ผสมกับน้ำมากขึ้น หรือเว้นเป็นที่ว่างขาวไว้




1.ลักษณะโปร่งใส  Transparent Quality )
----- เนื่องจากสีน้ำมีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายน้ำบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีน้ำจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซ้ำกัน เพราะจะทำให้สีช้ำหรอหม่นได้ และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณ๊อาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้น้ำที่ใช้ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้

2. ลักษะเปียกชุ่ม Soft Quality
----- เนื่องจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับน้ำและระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลืนกัน ดังนั้น เมื่อระบายไปแล้วลักษณะของสีที่แห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชุ่มของสี ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ และในบางกรณีที่ใช้สีน้ำระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สีแห้งไปเอง ก็จะเกิดคราบของสี (Sfumato ) ปรากฏให้เห็น ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งศิลปินสีน้ำท่านใดสามารถสร้างสรรค์ให้คราบนั้นน่าดูและมีความหมายขึ้น ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสีน้ำที่มีค่าควรชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

3.สีน้ำมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว
----- เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสมกลีเซอรีนลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้


4.สีน้ำมีคุณสมบัติรุกรามและยอมรับ Advance, Receda )

 ----- ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับเนื้อสีและสารเคมีที่ผสม ซึ่งผู้สนใจจะต้องสอบทานด้วยตนเองว่าสีใดที่มีคุณสมบัติรุกรานสีอื่น หรือสีใดยอมให้สีอื่นรุกราน และสีใดที่ติดกระดาษแน่นล้างน้ำไม่ออก        
Stained Color )






                คุณสมบัติของสีโปสเตอร์ 

        สีโปสเตอร์  เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด  การใช้งานเหมือน กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี เนื้อเรียบได้ และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค สามารถระบายสีทับกันได้  มักใช้ในการวาดภาพ ภาพประกอบเรื่อง ในงานออกแบบ ต่างๆ ได้สะดวก ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว


















งานทัศนศิลป์  นอกจากทำเพื่อสนองอารมณ์ตนเองแล้วยังทำเพื่ออะไร ?
ส่วนบนของฟอร์ม
ก.  เพื่อภาพ
ข.  เพื่อผู้วาด
 
ค.  เพื่อผู้ดู
ง.  เพื่อผู้ซื้อ
เส้น และ จุด  มีความสัมพันธ์กันอย่างไรในทัศนธาตุ ?
ก.  จุด เป็นศูนย์รวมของ แสง
ข.  เส้น เป็นแนวนำไปหา จุด
ค.  เส้น เป็นองค์ประกอบย่อยของ จุด
ง.  จุด เป็นส่วนย่อยที่ต่อรวมกันเป็น เส้น
 ทัศนศิลป์ Visual art  ได้แก่งานใด ?

ก.  หัตถกรรม (Crafts)
ข.  ดนตรี (Music)
ค.  จิตรกรรม (Paint)
ง.  อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial)
  
 เส้นที่ให้ความรู้สึก  สงบ  ราบเรียบ  ได้แก่ เส้นอะไร ?
ก.  เส้นโค้ง
ข.  เส้นนอน  
ค.  เส้นเฉียง
ง.  เส้นตั้งฉาก
 การนำทัศนธาตุทางศิลปะ มาจัดวางให้เหมาะสมสวยงาม เกี่ยวข้องกับหลักการใดต่อไปนี้ ?
ก.  หลักการจัดภาพ 
ข.  หลักการจัดการ
ค.  หลักการจัดระเบียบ
ง.  หลักการจัดแสง
สิ่งเหล่านี้อะไรเป็นศิลปะิ ?
ก.  เสียงสุนัขกัดกัน
ข.  เสียงน้ำเซาะในแก่งหิน
ค.  เสียงนกร้องในป่าเปลี่ยว
ง.  เสียงขลุ่ยดังแว่วมาแต่ไกล
7. สีน้ำ มีคุณสมบัติอย่างไร ?
ก.  ทึบแสง 
ข.  อับแสง
ค.  โปร่งแสง
ง.  สะท้อนแสง
 การเขียนภาพสีน้ำมัน ช่างเขียนนิยมเขียนบนระนาบพื้นอะไร ?
ก.  ผ้าใบ
ข.  กระจก
ค.  ไม้อัดอย่างดี
ง.  กระดาษอย่างดี


2 ความคิดเห็น:

  1. สล็อต ซื้อฟรีสปิน 50 PG ฟังก์ชั่นตัวช่วยยอดฮิต ที่อยากแนะนำให้ลองสล็อตซื้อฟรีสปินถูกๆต้องเว็บนี้เว็บเดียวเท่านั้น PG SLOT พร้อมเเล้วหรือยัง ที่จะพบตัวช่วยเล่นสล็อตเเบบใหม่

    ตอบลบ
  2. zeed slot168 ของพวกเรา วันนี้สามารถ ช่วยเพิ่มเดิมพันที่เหมาะสมที่สุด ให้กับนักร้องเพลงทุกคน pg slot สำหรับเพื่อการเลือกเข้าใช้บริการตรงนี้ กันแน่ๆ ค้ำประกันได้เลยว่าการสร้างรายได้

    ตอบลบ

ผู้ติดตาม



วันอาสาฬหบูช


เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน


อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?



ลักษณะวลีและประโยคพื้นฐาน

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี

เรียนรู้จากนิราศ

เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ 1

ระบบคอมพิวเตอร์

การตากข้าว สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

คุณสมบัติของรัฐมนตรี

อาณาเขตประเทศไทย

Adjective ตำแหน่งของคุณศัพท์ ( Position )
ทำไมแมลงปอต้องบินไปแตะผิวน้ำ
(อ่าน 148)
ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"
(อ่าน 518)
นวดแก้ปวดไม่ใช้มือ ศาสตร์บำบัดล้านนา
(อ่าน 1021)
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
(อ่าน 1307)
ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
(อ่าน 1302)
วิธีปลูกหอมญี่ปุ่น
(อ่าน 257)
ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง
(อ่าน 641)
"มะรุม" พืชมหัศจรรย์
(อ่าน 2533)
เลค ฮิลเลอร์ ทะเลสาบสีชมพู ประเทศออสเตรเลีย
(อ่าน 1647)
10 เรื่องที่ควรรู้ ก่อนคิดจะเลี้ยง "ไซบีเรียน ฮัสกี้"
(อ่าน 398)
มาทำความรู้จัก "พริกหวาน" กันเถอะ
(อ่าน 428)
คุณประโยชน์ของ "มะเขือเทศ" ที่ดีต่อร่างกาย
(อ่าน 1670)