ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ

กำลังปรับปรุง ฺBlogger นะครับ
หากมีข้อผิดพลาดขออภัยครับ


วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

การแสดงโขน สอบปลายภาค


  การแสดงโขน
Ø ประวัติความเป็นมา
          โขน เป็นนาฏกรรมหลวงที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับ ที่มีมานานตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา จดหมายเหตุของลาลูแบ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า การเล่นที่เขาเรียกว่า โขน ได้แก่การเต้นออกท่าเข้ากับเสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้เต้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ ราวกับจะรบราฆ่าฟันกันมากกว่าเต้น คนเต้นทุกๆ แม้แต่จะเต้นผาดโผน และออกท่าออกทางอย่างมากมาย ก็ยังเต้นเรื่อยไปไม่มีพูดเลย
           โขนเป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนง คือ โขนนำวิธีเล่นและวิธีแต่งตัวบางอย่างมาจากการแสดง         ชักนาคดึกดำบรรพ์   โขนนำท่าทางการต่อสู้โลดโผน ท่ารำท่าเต้นมาจากกระบี่ กระบอง และโขนนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์ เพลงดนตรี ตลอดจนท่าเต้นของผู้เชิดหนังมาจากการแสดงหนังใหญ่ และคงจะได้ประดิษฐ์แก้ไขปรับปรุงจนผสมผสานกลมกลืนกันเป็นอันดี จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายและยั่งยืนกว่าการเล่นต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากการแสดงโขน ผู้แสดงสวมศีรษะ คือหัวโขน ปิดหน้าหมด ยกเว้น เทวดา มนุษย์ และมเหสี ธิดาพระยายักษ์เท่านั้นที่เปิดหน้า ฉะนั้นจึงต้องมีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ และมีคนพากย์และเจรจาให้ด้วย นิยม แสดงเรื่องรามเกียรติ์ ดนตรีที่ใช้ประกอบใช้วงปี่พาทย์
Ø ประเภทของการแสดงโขน การแสดงโขนมีอยู่ ๕ ประเภท ได้แก่
.โขนกลางแปลง (Khon Klang Plaeng) เป็นการแสดงโขนบนพื้นดินกลางสนามหญ้า ไม่ต้องปลูกโรงให้เล่น โขนกลางแปลง นิยมแสดงแต่การยกทัพ ทำศึกสงคราม และรบกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะสนามกว้าง เหมาะที่จะ แสดงชุดที่มีตัวมาก ๆ เช่นกองทัพยักษ์ และกองทัพวานร ออกมารบกัน ปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงโขนชนิดนี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเพียงวงที่เรียกว่า เครื่องห้า การดำเนินเรื่อง ใช้การพากย์ การเจรจา ไม่มีขับร้อง แต่ในสมัยปัจจุบันกรมศิลปากรปรับปรุงการแสดงโขนกลางแปลงเสียใหม่ โดยนำเอา

ศิลปะการแสดงโขน แบบโขนโรงใน และโขนหน้าจอ คือมีการจับระบำรำฟ้อน และมีเพลงร้องเข้าประกอบด้วยมาแสดง กลางสนาม ตามแบบอย่างของการแสดงโขนกลางแปลง
.โขนนั่งราว หรือโขนโรงนอก (Khon Nung Rao) เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)  มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง  ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ ๒ ตั้งหัวโรงท้ายโรง     จึงเรียกว่า วงหัวและวงท้าย หรือวงซ้ายและวงขวา  วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลง  พอจบโหมโรงก็แสดงตอนพระพิราพออกเที่ยวป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพระพิราพ แล้วก็หยุดแสดง พักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึงเรียกว่า "โขนนอนโรง"    
                . โขนหน้าจอ (Khon Na Chor) คือ โขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่        ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว  การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือ             การพากย์และเจรจา มีดนตรี  ปี่พาทย์ประกอบการแสดง  ผู้เชิดตัวหนังต้องเต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี    นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหน้าจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย              จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก ๒ ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ
. โขนโรงใน ( Khon Rong Nai )  เป็นโขนที่รับเอาศิลปะการแสดงแบบละครในเข้ามาแสดงในโขนด้วย เช่น นำการขับร้องเพลง ตามแบบละครมาขับร้อง แทรกไปกับการพากย์ การเจรจา นอกจากนี้ยังมีการแสดงแบบจับระบำ รำฟ้อน เช่นเดียวกับ ละครใน เมื่อโขนหน้าจอ รับเอาศิลปะการแสดงแบบละครใน         เข้ามาผสมด้วยเช่นนี้ จึงเรียกว่า โขนโรงใน ส่วนโขนนั่งราว ที่มีมาแต่เดิม ก็กำหนดชื่อใหม่ว่า โขนโรงนอก 
. โขนฉาก (Khon Chak) เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก  กรมศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครองเมือง (จาตุรงค์ มนตรีศาสตร์,๒๕๒๗ : หน้า ๕๗)

Ø เครื่องแต่งกายโขน 
                ลักษณะการแต่งกายโขน จะแต่ง แบบยืนเครื่อง  ในสมัยโบราณได้มีการกำหนดสีลักษณะหัวโขน ถือว่าเป็นรูปแบบการแต่งกายที่ใช้ในการแสดงโขนและละครรำ ได้มีการสร้างเครื่องแต่งกายเลียนแบบเครื่องต้นของพระมหากษัตริย์  โดยเครื่องแต่งกายยืนเครื่องของตัวพระ เป็นเครื่องแต่งกายที่มีลักษณะพิเศษ ที่มีการสร้างเลียนแบบเครื่องต้นของพระมหากษัตริย์  แต่ได้มีการพัฒนารูปแบบจากเดิมที่ผู้แสดงไม่สวมเสื้อ จวบจน

ถึงปัจจุบันที่มีองค์ประกอบอื่น ๆ เข้ามา  ทำให้เครื่องแต่งกายได้มีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้น  โดยมีจารีตในการกำหนดสีและลักษณะของตัวละครเพื่อบ่งบอกถึงสถานภาพ  มีความแตกต่างตรงที่ผู้แสดงโขนจะมีการสวมหัวโขนในการแสดงที่เรียกว่า หัวโขน                
                .เครื่องแต่งกายตัวพระ
                การแต่งกายของตัวพระ ทำให้ทราบถึง ฐานะ ยศ และตำแหน่ง จากลักษณะการแต่งกายสี                 เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยอาภรณ์และเครื่องประดับต่างๆ กัน 
        1. ตัวพระ สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา (หมายเหตุ : กางเกง) ไว้ข้างใน นุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้า เป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้า และสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น







หมายเหตุ : ขวาของภาพแสดงเสื้อแขนสั้น ไม่มีอินทรธนู ส่วนทางซ้ายของภาพแสดงเสื้อแขนยาว มีอินทรธนู






2. ตัวนาง สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่อง ส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ สังวาล พาหุรัด เป็นต้น แต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์ เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูร จะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้าง



หมายเหตุ : บางครั้งไม่จำเป็นต้องแต่งครบทุกชิ้นตามนี้ก็ได้



3. ตัวยักษ์ เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้า คือ ตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอว ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยชนิด



หมายเหตุ : บรรดาพญายักษ์ตัวสำคัญอื่นๆในการแสดงโขน จะแต่งกายคล้ายแบบนี้ ต่างกันแต่สี และลักษณะของหัวโขน ซึ่งนายช่างได้บัญญัติ และประดิษฐ์ให้แปลกแตกต่างกัน เฉพาะหัวยักษ์มีอยู่ราวร้อยชนิด



4. ตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์ แต่มีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิง ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณ 40 ชนิด





หมายเหตุ : บรรดาวานรตัวสำคัญอื่นๆในการแสดงโขน จะแต่งกายคล้ายแบบนี้ ต่างกันแต่สี และลักษณะของหัวโขน ซึ่งนายช่างได้บัญญัติ และประดิษฐ์ให้แปลกแตกต่างกัน เฉพาะหัวลิงมีอยู่ประมาณ 40 ชนิด





Ø วงดนตรีที่ใช้ในการแสดงโขน
              ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ได้แก่ วงปี่พาทย์ (บางทีก็เรียก "พิณพาทย์") ซึ่งประกอบไปด้วย ปี่ ระนาด ฆ้อง กลอง ตะโพน บางสมัยก็จัดเป็นวงเครื่องห้าตามแต่ฐานะของผู้เป็นเจ้าของงาน
แต่เดิมคงจะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบเครื่องดนตรี ดังนี้
วงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้
                                ระนาดเอก ๑ ราง                                ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง                ตะโพน ๑ ลูก          
กลองทัด ๑ คู่                                        ฉิ่ง ๑ คู่                                  ปี่ใน ๑ เลา           
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้
ระนาดเอก ๑ ราง               ระนาดทุ้ม ๑ ราง                ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง      
ฆ้องวงเล็ก ๑ วง                  ตะโพน ๑ ลูก                    กลองทัด ๑ คู่                      
ฉิ่ง ๑ คู่                                ฉาบเล็ก ๑ คู่                         ปี่ใน ๑ เลา            ปี่นอก ๑ เลา
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้
ระนาดเอก ๑ ราง               ระนาดทุ้ม ๑ ราง                ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง      ฆ้องวงเล็ก ๑ วง          ระนาด            
เอกเหล็ก ๑ ราง                  ระนาดทุ้มเหล็ก ๑ ราง      ตะโพน ๑ ลูก             กลองทัด ๑ คู่                ฉิ่ง ๑ คู่                                  
ฉาบใหญ่ ๑ คู่                    ฉาบเล็ก ๑ คู่                          โหม่ง ๑ ใบ    
ปี่ใน ๑ เลา                         ปี่นอก ๑ เลา

Ø เรื่องที่แสดงโขนและลักษณะบทโขน
                 เรื่องที่ใช้แสดงโขนที่รู้จักกันแพร่หลายคือ เรื่อง รามเกียรติ์  ซึ่งมีทั้งหมดหลายสำนวนด้วยกัน        ต้นกำเนิดของเรื่องรามเกียรติ์นี้คือมหากาพย์รามายณะของ ประเทศอินเดีย  แต่งโดยพระฤๅษีวาลมิกิ ซึ่งชาวอินเดียสมัยโบราณเชื่อว่าถ้าได้ฟังหรืออ่านเรื่องนี้ก็สามารถล้างบาปได้  รามเกียรติ์เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระรามเพื่อคอยปราบอสูร สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ผู้ซึ่งเป็นพญายักษ์นั้น เกิดจากทศกัณฐ์ไปลักพาตัวนางสีดามเหสีของพระรามมาเป็นชายาของตนเอง พระรามและพระลักษมณ์จึงออกติดตาม ได้พญาวานรสุครีพและมหาชมพูมาเป็นบริวาร รวมถึงหนุมานเป็นทหารเอก เพื่อทำศึกกับทศกัณฐ์จนได้รับชัยชนะ

ลักษณะบทโขน                   
บทพากย์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่งแต่งเป็นคำประพันธ์ชนิด
กาพย์ยานี ๑๖ หรือ กาพย์ยานี ๑๑ บท มีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
                                - พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ์หรือพระรามประทับในปราสาท
        -พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชม     ไพร่พลด้วย
พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำพัน คร่ำครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายเป็นทำนองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ
                พากย์ชมดง เป็นบทตอนชมป่าเขาลำเนาไพรทำนองตอนต้น เป็นทำนองร้องเพลงชมดง                ในตอนท้ายเป็นทำนองพากย์ธรรมดา
พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์รำพึงรำพันใดๆ
พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด
บทเจรจา เป็นบทกวีที่แต่งเป็น ร่ายยาวส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุกโอกาส               สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์ คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง ผู้พากย์เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ดร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก ปัจจุบันนี้บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้เสียงและลีลาในการเจรจา ผู้พากย์และเจรจาต้องทำสุ่มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง
               คนพากย์และเจรจานี้ใช้ผู้ชาย คนหนึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา และต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ คน    จะได้โต้ตอบกันทันท่วงที เมื่อพากย์หรือเจรจาจบกระบวนความแล้ว ต้องการจะให้ปี่พาทย์ทำเพลงอะไรก็ร้องบอกไป เรียกว่า "บอกหน้าพาทย์" และถ้าการแสดงโขนนั้นมีขับร้อง คนพากย์และเจรจายังจะต้องทำหน้าที่บอกบทด้วย การบอกบทจะต้องบอกให้ถูกจังหวะ
.บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่            อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น

Ø โอกาสที่ใช้ในการแสดงโขน
.แสดงเป็นมหกรรมบูชา เช่น ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือพระศพ พระบรมอัฐิ              หรืออัฐิเจ้านาย ตลอดจนศพขุนนาง หรือผู้ใหญ่เป็นที่เคารพนับถือทั่วไป 
               ๒.แสดงเป็นมหรสพสมโภช เช่น ในงานฉลองปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ พระพุทธบาท พระแก้วมรกต พระอาราม หรือสมโภชเจ้านายทรงบรรพชา สมโภชในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมโภชในงานเฉลิม       พระชนมพรรษา สมโภชวันประสูติเจ้านายที่สูงศักดิ์ เป็นต้น 
๓.แสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง ในโอกาสทั่วๆ ไป

Ø ภาษาท่าทางโขน  ภาษาท่าทางโขน จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
               ๑.  ท่าซึ่งใช้แทนคำพูด เช่น เรียก ไป มา รับ ปฏิเสธ
               ๒.  ท่าซึ่งใช้เป็นอิริยาบถ และกิริยาอาการ เช่น เดิน ไหว้ ยิ้ม ร้องไห้
               ๓.  ท่าซึ่งแสดงถึงอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ 




. โขนวิวัฒนาการมาจากการแสดงประเภทใด ?
ก.ละครใน
ข.ละครรำ
ค.หนังใหญ่
ง.กระบี่กระบอง
2. โขนได้รับอิทธิพลในเรื่องใดจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ ?
ก.ท่ารำ
ข.เบิกโรง
ค.การพากย์
ง.การแต่งกาย
3. การแสดงโขนชุดพระรามตามกวาง ลักษณะการเดินของพระรามและกวางเป็นอย่างไร ?
ก.เดินเป็นวงรี
ข.เดินเป็นวงกลม
ค.เดินเป็นทางตรง
ง.เดินเป็นทางคดไปมา
4. เพลงหน้าพาทย์เพลงใดใช้ประกอบการแสดงโขนชุดพระรามตามกวาง ?
ก.เชิด
ข.เชิดจีน
ค.เชิดนอก
ง.เชิดฉาน
5. ภูมิปัญญาไทยที่สอดแทรกอยู่ในการแสดงโขนที่เห็นได้เด่นชัดกว่าลักษณะอื่นๆ คือ ภูมิปัญญา ทางด้านใด ?
ก.การเต้น
ข.การขับร้อง
ค.การแต่งกาย
ง.การบรรเลงดนตรี
6. เพราะเหตุใดผู้แสดงที่เป็นพระ-นาง ไม่ต้องสวมหัวโขน จึงไม่เจรจาเอง ?
ก.เพราะผู้แสดงไม่ถนัด
ข.เพราะมีนักร้องและนักดนตรีร้องแทน
ค.เพราะต้องการรักษาจารีตของการแสดงโขนไว้
ง.เพราะผู้แสดงไม่ได้รับการฝึกหัดให้เจรจาเอง
7. ปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการแสดงของนาฏศิลป์พื้นเมือง ?
ก.สภาพทางภูมิศาสตร์ นาฏศิลป์พื้นบ้าน วัฒนธรรม
ข.สภาพทางภูมิศาสตร์ เครื่องแต่งกาย ศิลปะท้องถิ่น ดนตรี
ค.สภาพทางภูมิศาสตร์ ประเพณี ความเชื่อ ศาสนาและค่านิยม
ง.สภาพทางภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
8. ข้อใดเป็นลักษณะท่ารำของการแสดงพื้นเมืองชุดรำสีนวล ?
ก.ตีบทตามเนื้อร้อง
ข.รำตามทำนองเพลง
ค.รำแบบนวยนาดของสตรี
ง.ตีบทตามเนื้อร้องและมีท่ารับในทำนองเพลง
9. การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองชุดใดที่เน้นลีลาการเล่นเท้า ?
ก.สีนวล
ข.ตารีกีปัส
ค.ฟ้อนสาวไหม
ง.ลาวดวงเดือน
10. จังหวัดใดที่ทำการฟื้นฟูการแสดงพื้นเมืองชุดตารีกีปัส ?
ก.ยะลา
ข.สงขลา
ค.ปัตตานี
ง.นราธิวาส
11. นาฏศิลป์พื้นเมืองพัฒนามาจากการแสดงประเภทใด ?
ก.การละเล่น
ข.การแสดงพื้นเมือง
ค.การเล่นเพลงพื้นบ้าน
ง.การร้องรำทำเพลง
12. การแสดงประเภทใดที่สอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านในท้องถิ่น ?
ก.โขน
ข.ละครรำ
ค.ระบำ รำ ฟ้อน
ง.การแสดงพื้นเมือง
13. "ระบำชาวนา" เป็นการแสดงประเภทใด ?
ก.ระบำ เบ็ดเตล็ด
ข.นาฏศิลป์ เบ็ดเตล็ด
ค.ระบำ รำ ฟ้อน เซิ้ง
ง.การแสดงพื้นเมืองประเภทชุดเบ็ดเตล็ด
14. ข้อใดเป็นจารีตในการแสดงโขน ?
ก.ก่อนการแสดงโขนต้องมีระบำ
ข.ก่อนการแสดงโขนต้องรำเบิกโรง
ค.ก่อนการแสดงโขนต้องบรรเลงเพลงสาธุการ
ง.ก่อนการแสดงโขนต้องมีผู้บรรยายเนื้อเรื่อง
15. เพลงที่ใช้บรรเลงตอนเปิดฉากการแสดงโขนตอนแรกคือเพลงใด ?
ก.เพลงวา
ข.เพลงรัว
ค.เพลงช้าปี่
ง.เพลงหน้าพาทย์
16. เพลงปฏิภาคย์นิยมใช้กลอนแบบใด ?
ก.กลอน ๘
ข.กลอนบทละคร
ค.กลอนสุภาพและกลอน ๖
ง.กลอนหัวเดียวลงท้ายด้วยสระเดียวกัน
17. บทพากย์โขนมีลักษณะคำประพันธ์ประเภทใด ?
ก.ฉันท์
ข.กาพย์
ค.โคลง
ง.กลอน
18. การแสดงโขนตอนยกทัพหรือจัดทัพใช้การพากย์ประเภทใด ?
ก.พากย์รถ
ข.พากย์โอ้
ค.พากย์เมือง
ง.พากย์พลับพลา
19. การพากย์พลับพลาใช้กับกรณีใด ?
ก.พระรามจัดทัพ
ข.พระรามออกรบ
ค.ทศกัณฐ์ลงสวน
ง.ทศกัณฐ์ออกท้องพระโรง
20. การวิเคราะห์การแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างมีหลักการต้องปฏิบัติอย่างไร ?
ก.ต้องเสาะแสวงหาความความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
ข.ต้องศึกษาด้านสุนทรียศาสตร์ของศิลปะการแสดง
ค.ต้องมีประสบการณ์ในการชมการแสดงนาฏศิลป์ไทย
ง.ต้องศึกษาให้เข้าใจหลักการวิจารณ์การแสดงแต่ละประเภท


7 ความคิดเห็น:

  1. เพลงเข้ามาในเว็บชื่อเพลงอะไรหรอคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
  2. เพลงที่เข้ามาในเว็บที่มีเสียง ดนตรีไทยอะคะชื่อเพลงอะไรค่ะ

    ตอบลบ
  3. เพลงเขมรไทรโยคนะค่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่เห็นมีเฉลยข้อสอบข้างบนเลยค่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่เห็นมีเฉลยข้อสอบข้างบนเลยค่ะ

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ

ผู้ติดตาม



วันอาสาฬหบูช


เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน


อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?



ลักษณะวลีและประโยคพื้นฐาน

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี

เรียนรู้จากนิราศ

เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ 1

ระบบคอมพิวเตอร์

การตากข้าว สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

คุณสมบัติของรัฐมนตรี

อาณาเขตประเทศไทย

Adjective ตำแหน่งของคุณศัพท์ ( Position )
ทำไมแมลงปอต้องบินไปแตะผิวน้ำ
(อ่าน 148)
ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"
(อ่าน 518)
นวดแก้ปวดไม่ใช้มือ ศาสตร์บำบัดล้านนา
(อ่าน 1021)
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
(อ่าน 1307)
ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
(อ่าน 1302)
วิธีปลูกหอมญี่ปุ่น
(อ่าน 257)
ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง
(อ่าน 641)
"มะรุม" พืชมหัศจรรย์
(อ่าน 2533)
เลค ฮิลเลอร์ ทะเลสาบสีชมพู ประเทศออสเตรเลีย
(อ่าน 1647)
10 เรื่องที่ควรรู้ ก่อนคิดจะเลี้ยง "ไซบีเรียน ฮัสกี้"
(อ่าน 398)
มาทำความรู้จัก "พริกหวาน" กันเถอะ
(อ่าน 428)
คุณประโยชน์ของ "มะเขือเทศ" ที่ดีต่อร่างกาย
(อ่าน 1670)