- เซิ้งแพรวากาฬสินธุ์
ผ้าไหมแพรวา เป็นผ้าแพรสไบที่ทอด้วยเทคนิคการทอคล้ายกับผ้าจก นิยมทอให้มีความยาวประมาณ 1 วากับอีก1 ศอกหรือ 1ช่วงแขน หรือยาวประมาณ 2-2.5 เมตร ตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งเป็นผ้าทอพื้นบ้านของชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และนิยมทอกันอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัด เพราะได้การสนับสนุนจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และมีการพัฒนารูปแบบ สีสัน และลวดลายต่างๆมากขึ้น ทำให้ผ้าไหมแพรวาเป็นที่นิยม และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
เซิ้งแพรวากาฬสินธุ์ ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์และดุริยางค์ โดยการควบคุมของ นายสิริชัย นักจำรูญ ผู้อำนวยการจากวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ.2534 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระชนม์มายุครบ 60 พรรษา และได้ออกนำเสนอผลงาน ในงานมหกรรมการแสดงผลงานนาฏศิลป์ดนตรี และนิทรรศการงานศิลปะของสถาบันการศึกษา สังกัดกรมศิลปากร ประจำปีการศึกษา2535 ณ โรงละครแห่งชาติ โดยผู้แสดงจะแต่งกายด้วยการใช้ผ้าแพรวาสีต่างๆ พันอก ท่ารำก็ได้ดัดแปลงมาจากท่วงท่าการทอผ้าไหมแพรวานั่นเอง
ลักษณะการแต่งกาย
2.เซิ้งตังหวาย
3.เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
4.ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ
5.ดึงครกดึงส่าก
6.ฟ้อนนารีศรีอีสาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น