ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ

กำลังปรับปรุง ฺBlogger นะครับ
หากมีข้อผิดพลาดขออภัยครับ


วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ละครสร้างสรรค์

ละครสร้างสรรค์
ละครสร้างสรรค์ (Creative  Drama)
      ในขณะที่การแสดงบทบาทสมมติ (Role  Play) ในการเล่นของเด็กๆ โดยทั่วไปนั้นเป็นไปแบบไร้กฏเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นการเล่นแบบเสรีตามใจชอบ  จึงเป็นเรื่องปกติที่เด็กๆ จะเปลี่ยนการเล่นแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่ง  หรือบางครั้งก็ดูเหมือนว่าเด็กๆ เล่นเรื่องเดิมซ้ำๆ กัน แต่ไม่มีการดำเนินเรื่องที่ชัดเจน  บ่อยครั้งที่การเล่นสมมติเป็นเพียงกิจกรรมสมมติที่เลียนแบบสิ่งที่พวกเขาได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน  แต่ไม่มีการพัฒนาในเชิงเนื้อเรื่อง เนื้อหา หรือตัวละคร ดังนั้น หากผู้ใหญ่สามารถที่จะจัดประสบการณ์ในการเล่นสมมติของเด็กให้กลายเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ด้วย  ก็นับได้ว่าผู้ใหญ่ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และพัฒนาด้วยตัวของเขาเอง
       ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama)  เป็นรูปแบบการเล่นสมมติที่ได้ผ่านกระบวนการจัดเตรียมข้อมูลและวางแผนการเล่นให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี  เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถรับประโยชน์สูงสุดจากการเล่นโดยที่ยังรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติของ
“การเล่น” เอาไว้เป็นอย่างดี กล่าวคือการเล่นละครสร้างสรรค์นั้นไม่เหมือนกับการแสดงละครเวที  ไม่ได้เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของกลุ่มผู้ชม และไม่ได้เป็นการแสดงเพื่ออวดฝีมือ  แต่การเล่นละครสร้างสรรค์นั้นจะต้องเล่นในสถานที่ที่ผู้ร่วมกิจกรรมรู้สึกปลอดภัย ไม่เครียด
ไม่กังวลใจ และสามารถแสดงออก (ภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงร่วมกัน)  อย่างเสรี โดยมุ่งประโยชน์ไปที่พัฒนาการของผู้ร่วมกิจกรรมเป็นหลัก จึงอาจกล่าวได้ว่ากิจกรรมและละครสร้างสรรค์นั้นเป็นการเล่นบทบาทสมมติในแบบที่ไม่เป็นทางการ  แทนที่จะมีนักแสดง แต่กลับมีผู้ร่วมกิจกรรม (Participants) แทนที่จะมีผู้กำกับการแสดงแต่กลับมีผู้นำกิจกรรม  (Leader) (หรือครู) ที่ช่วยอำนวยความสะดวก (Facilitate) ในกระบวนการทั้งหมด
       บางครั้ง  ละครสร้างสรรค์ก็ใช้  “เรื่อง”  หรือ   “นิทาน”  เป็นจุดเริ่มสำหรับการแสดงเพราะใน  “เรื่อง”  ที่ดีนั้น  จะต้องมีโครงสร้างของเรื่องที่ดีด้วย  นั่นก็คือมีการดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ  ซึ่งช่วยเป็นกรอบสำหรับการแสดงที่มีทิศทางและมีความหมาย  แต่บางครั้งละครสร้างสรรค์ก็เริ่มจากแรงจูงใจอื่นๆ  เช่น  ข้อเท็จจริง  รูปภาพ  วัตถุสิ่งของ  เสียงต่างๆ  ดนตรี  บทเพลง  บทกวี  ปริศนาคำทาย  หรือธรรมชาติรอบๆ  ตัว  แต่ไม่ว่าจะเริ่มต้นมาจากอะไร  ผู้นำกิจกรรมจะสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ทำการสำรวจข้อมูล  วินิจฉัยข้อมูล  ตั้งคำถาม  แสวงหาคำตอบ  ทดลองสมมติฐานด้วยประสบการณ์สมมติ  แสดงออกทางความคิดด้วยกาย  วาจา  ใจ  จนกว่าจะค้นพบคำตอบ  ที่เชื่อมโยงกับความเข้าใจโลกและชีวิต  โดยมีผู้นำกิจกรรมหรือครูผู้เป็นเสมือนพี่เลี้ยงในการตั้งคำถามและให้ความสะดวกในการเรียนรู้สำหรับผู้ร่วมกิจกรรม
       แม้ว่ากิจกรรมบางอย่างที่ใช้ในละครสร้างสรรค์อาจมีส่วนคล้ายกับการฝึกหัดสำหรับนักแสดงอยู่บ้าง แต่จุดหมายของละครสร้างสรรค์กลับไม่ได้เป็นไปเพื่อฝึกให้ผู้ร่วมกิจกรรมไปเป็นนักแสดง  เทคนิคที่ใช้ในละครนั้น เป็นเทคนิคที่เกิดจากการใช้ “ธรรมชาติ” ที่อยู่ภายในความเป็นมนุษย์เป็นที่ตั้ง  ดังนั้นหากผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้มีความเข้าใจในธรรมชาติของกลุ่มเป้าหมาย  (ผู้ร่วมกิจกรรม) เป็นอย่างดี ก็จะสามารถใช้เทคนิคและวิธีการของละครสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มพูนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้หลายกลุ่ม  แม้ว่าเราจะพบเห็นการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเด็กและวัยรุ่นเป็นหลัก  และเอกสารฉบับนี้ก็มุ่งเน้นที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ทำงานกับเด็กและเยาวชนเป็นหลัก  แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ากิจกรรมละครสร้างสรรค์นั้นเหมาะสำหรับเด็กและเยาวชนเท่านั้น  แท้จริงแล้ว การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential Learning) ในรูปแบบของละครสร้างสรรค์เป็นวิธีการที่สอดคล้องต่อธรรมชาติของการเรียนรู้ในมนุษย์ทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ บุคคลพิเศษ (ที่มีความพิการ) หรือแม้แต่ผู้สูงวัย  เพราะเป็นการเรียนรู้ที่ต้องใช้ทักษะทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการใช้ร่างกาย  (ในการสร้างท่าทาง การเคลื่อนไหว การขีดเขียน  การผลิตอุปกรณ์ประกอบการแสดง)  การสื่อสารด้วยภาษา (ทั้งการฟังและการพูด) การใช้สติปัญญา (ในการแก้ไขปัญหา)  การใช้ทักษะสัมพันธ์ (ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น) การใช้ความรู้สึกและจินตนาการ  (ในการทำความเข้าใจกับความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับชีวิตและสังคม)
       การเล่นและการประเมินผลการเล่น  เป็นขั้นตอนที่ควบคู่กันเสมอในละครสร้างสรรค์ การประเมินผลช่วยให้เด็กคิดอย่างมีวิจารณญาณ  เด็กๆ อาจจะอยากเล่นละครสร้างสรรค์เรื่องเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วแต่เป้าหมายในการเล่นซ้ำของเด็กนั้นแตกต่างจากการฝึกซ้อมการแสดงในละครเวที  ในขณะที่การฝึกซ้อมละครเวทีนั้นมุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบหรือความลงตัวในตัวผลงาน  (Product) แต่ในละครสร้างสรรค์นั้นเด็กๆ อาจเปลี่ยนหรือสลับบทบาทกันโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความสมบูรณ์แบบของการแสดง  หรือในบางครั้งอาจจะมีการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงหรือเครื่องแต่งกายอยู่บ้าง  แต่ก็ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกิดการแสดงแบบละครเวทีที่เป็นทางการ  องค์ประกอบทางเทคนิคของละครเวที เช่น ฉาก แสง เสียง การแต่งหน้า และเครื่องแต่งกายนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับกิจกรรมละครสร้างสรรค์
       ในแต่ละครั้งที่เด็กๆ  เล่นละครสร้างสรรค์นั้น  ย่อมหมายถึงการที่พวกเขาได้ทำความเข้าใจกับเหตุการณ์  กับความคิดและการแสดงออกของตัวละครให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเด็กๆ  ก็พยายามทำการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้นไปเป็นลำดับ  ดังนั้นการเล่นละครสร้างสรรค์จึงมีจุดมุ่งหมายไปที่การพัฒนาตัวผู้ร่วมกิจกรรมมากกว่าในตัวผลงานละคร
       สมาคมการละครเพื่อการศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา  (American Alliance for Theatre and Education) ได้ให้นิยามของละครสร้างสรรค์ในปี  ค.ศ. 1996 ว่า
       “ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama)  หมายถึง รูปแบบของละครชนิดหนึ่งที่เกิดจากการด้นสด (Improvisation) การไม่พยายามอวดผู้ชม  (Non-Exhibitional) และการใช้กระบวนการเรียนรู้ (Process-Centered) โดยมีผู้นำ  (หรือครู) เป็นผู้ช่วยชี้นำให้ผู้ร่วมกิจกรรม (เช่น เด็ก) ได้ใช้จินตนาการเพื่อเล่นบทบาทสมมติเพื่อสะท้อนถึงประสบการณ์ของมนุษย์  ผู้นำทีมที่ช่วยเหลือและผู้ชี้นำให้ผู้ร่วมกิจกรรมนั้นสำรวจข้อมูล พัฒนาวิธีการแสดงออก  เพื่อสื่อสารความคิด และความรู้สึก โดยการใช้ละครซึ่งเกิดจากการด้นสดด้วยท่าทางและคำพูดเพื่อที่จะค้นหาความหมาย  หรือสัจธรรมอันเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิต”
       กิจกรรมในละครสร้างสรรค์นั้นเป็นกระบวนการ  (Process)  ที่มีขั้นตอน  การทำกิจกรรมโดยให้ผู้ร่วมกิจกรรมเป็นศูนย์กลางนั้น  มักจะเริ่มต้นจากสิ่งที่ผู้เรียนมีความรู้หรือคุ้นเคยอยู่แล้ว  จากนั้นผู้นำจึงจะจัดประสบการณ์เชื่อมโยงจากสิ่งที่ผู้ร่วมกิจกรรมรู้จักอยู่แล้วไปสู่การเรียนรู้ใหม่ๆ  ที่กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้น  และมุ่งหวังที่จะพัฒนาการทำงานของสมองทั้งสองซีก
       ดังนั้น โดยภาพรวมนั้นละครสร้างสรรค์มักจะเริ่มด้วยการใช้ประสบการณ์จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory Recall) ใช้ความทรงจำ (Memory Recall) นำไปสู่จินตนาการ(Imagination)  และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ซึ่งนำไปสู่การสวมบทบาทสมมติ (Role  Play) ภายใต้สถานการณ์และกติกาที่ตกลงร่วมกัน ก่อให้เกิดการแสดงในแบบด้นสด  (Improvisation) ซึ่งต้องใช้จิตนาการผนวกกับการใช้ปฏิภาณ จนกระทั่งนำไปสู่ความเข้าใจในสถานการณ์นั้นๆ  มากขึ้นในที่สุด กระบวนการประเมินผลในตอนท้ายนั้นก็จะช่วยให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณและไม่ว่าเป้าหมายในการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ในแต่ละครั้งเป็นอย่างไรก็ตาม  สิ่งหนึ่งที่ผู้นำกิจกรรมควรจะต้องทำก่อนเริ่มกิจกรรมในแต่ละแผนการสอนเสมอในขั้นตอนแรกก็คือ  การเตรียมความพร้อม หรือวอร์มอัพ (warm-up) ร่างกายและจิตใจเป็นขั้นตอนสำคัญมากที่จะเริ่มกิจกรรมหลักอื่นๆ  ผู้สอนไม่ควรมองข้ามความสำคัญของขั้นตอนนี้ ตัวอย่างกิจกรรมเตรียมความพร้อม  หรือกิจกรรมวอร์มอัพ เช่น การเดิน การวิ่งเบาๆ การยืดเส้นยืดสายแบบง่ายๆ  หรือเป็นการเล่นเกมต่างๆ เช่น “ชื่อนี้มีท่า” “ถุงเท้าเรียกชื่อ” “ลมเพลมพัด”  “นางฟ้าอยากได้” “หุ่นชัก” ฯลฯ
       เมื่อเตรียมความพร้อม  อบอุ่นร่างกายเสร็จแล้ว  จึงจะตามด้วยกระบวนการต่อไปนี้  คือ  กิจกรรมจูงใจ  (Motivation)  กิจกรรมเตรียมทักษะละคร  (Pre-Drama)  และกิจกรรมละคร  (Drama  Playing)  และตามด้วยการประเมินผล  (Evaluation)  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
       กิจกรรมจูงใจ (Motivation) หมายถึง  การใช้คำถามหรือสื่อประเภทต่างๆ ในการกระตุ้นความสนใจของผู้ร่วมกิจกรรมเพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้  หรือทำความเข้าใจกับประเด็นที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมา ขั้นตอนในการสร้างแรงจูงใจนี้  อาจจะเริ่มต้นด้วยการถามคำถามที่เร้าปฏิกิริยาการตอบสนอง เพื่อดึงดูดให้ผู้ร่วมกิจกรรมนี้มีส่วนร่วมตั้งแต่แรกเริ่ม จากนั้นผู้นำกิจกรรมอาจจะนำเสนอข้อมูลที่จะจำเป็นต่อการแสดงละครในช่วงท้าย  “ข้อมูล” ที่ว่านี้ หมายถึง สื่อที่สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นที่จะนำไปสู่การอภิปราย  หรือการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ สื่อที่ว่ามีหลายรูปแบบ เช่น  เกม นิทาน บทกวี บทเพลง วีดีทัศน์ บทสัมภาษณ์ ข่าวสาร บทความ เรื่องสั้น  ภาพจำลอง แผนผัง ฯลฯ ผู้นำต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเองว่า จะใช้ข้อมูลและเวลาเท่าไร  และอย่างไร เพื่อที่จะเป็นการปูพื้นฐานและสร้างแรงจูงใจในการแสวงหาคำตอบให้กับผู้ร่วมกิจกรรมให้ได้มากที่สุด
สรุป กิจกรรมจูงใจ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

       1. กิจกรรมเคลื่อนไหว (Movement  and Game) ได้แก่
          - ท่าใบ้ (Pantomime)
          - การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์  (Creative Movement)
          - การเล่นเกม  (Game)
          - การทำท่าทางการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะดนตรีหรือเพลง  (Movement with Music and Song)
       2. การใช้ภาษา (Language or Word  Game)
          - การถามคำถาม
          - การเล่านิทาน  (Story Telling) ด้วยเทคนิคต่างๆ
          - การร้องเพลง  (Songs)
          - การอ่านบทกลอน  คำสุภาษิต คำร้องในการละเล่น (เช่น ยาสีฟันคอลเกต วิเศษนิยม ยาอมโอเล่...)
          - การใช้คำปริศนาคำทาย  (Riddles)
     
       3. การใช้สื่อต่างๆ
          - การใช้หุ่น
          - การใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง
          - การใช้หนังสือ สิ่งพิมพ์
          - การใช้ภาพแบบต่างๆ  (เช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย ภาพแผ่นพับ ภาพแขวน ฯลฯ)
          - การใช้สื่อวีดิทัศน์

       การฝึกความพร้อมก่อนแสดงละคร (Pre-Drama)  จากการที่ผู้นำกิจกรรมมีความคุ้นเคยกับระดับพัฒนาการของผู้ร่วมกิจกรรมมาเป็นอย่างดีแล้วนั้น  ทำให้ผู้นำกิจกรรมเข้าใจในจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถของผู้ร่วมกิจกรรมได้ดีพอใช้  ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนในการแสดงละครนั้น ผู้นำกิจกรรมวางแผนไว้ว่าจะให้ผู้ร่วมกิจกรรมเตรียมตัวในเรื่องใดบ้าง  เช่น การวอร์มอัพ (Warm-up) ร่างกาย การทำความเข้าใจกับละครที่จะแสดง  การจัดเตรียมพื้นที่สำหรับแสดง การคัดเลือกผู้แสดง ตลอดจนการฝึกซ้อมบทบาทในบางตอนตามความจำเป็น  การที่ผู้นำกิจกรรมจะแลเห็นว่าควรเตรียมความพร้อมผู้ร่วมกิจกรรมอย่างไรบ้างนั้น  ผู้นำกิจกรรมจำเป็นต้องจินตนาการไปล่วงหน้าให้เห็นภาพของการแสดงละครในห้อง ทำกิจกรรมนั้นภายในระยะเวลาและองค์ประกอบทางเทคนิคที่จำกัด ความสามารถที่จะจินตนาการไปได้ล่วงหน้านี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  เพราะจะช่วยให้ผู้นำกิจกรรมตัดสินใจว่า จะต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้ร่วมกิจกรรมอย่างไรบ้าง  เพื่อให้พวกเขาได้แสดงละครที่ใช้การด้นสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายตามประสงค์


1. ละครสร้างสรรค์และละครระดับพื้นฐาน
ละคร หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นจากการนำภาพ ประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่องราวแล้วนำเสนอแก่ผู้ชม โดยมีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมาย
1.1 ละครระดับพื้นฐาน ละครเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์
- การเล่านิทาน (Story telling)
- การเลียนแบบ (Imitation)
- กิจกรรมเพื่อความบันเทิง (Popular Entertianment)
1.2 ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama) หมายถึงละครนอกรูปแบบ ที่ไม่จำเป็นต้องจัดเวที
วัตถุประสงค์
- พัฒนาความสามารถของผู้แสดง
- พัฒนาขั้นตอนการแสดง
- การประเมินการวิจารณ์การแสดงเพื่อ ปรับปรุงแก้ไข
สถานที่และอุปกรณ์
- ใช้ห้องโล่ง ๆ กว้างพอประมาณ ไม่มีเวที
- ใช้อุปกรณ์กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมพัฒนาการแสดงละครสร้างสรรค์ ประสาทสัมผัสทั้ง 5
การเห็น    เกิดจากประสาทสัมผัสทาง    ตา
การได้กลิ่น    เกิดจากประสาทสัมผัสทาง    จมูก
การสัมผัส    เกิดจากประสาทสัมผัสทาง    ผิวหนัง
การได้ยิน    เกิดจากประสาทสัมผัสทาง    หู
การลิ้มรส    เกิดจากประสาทสัมผัสทาง    ลิ้น

วิธีการฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ฝึกการมอง
- ฝึกการฟัง
- ฝึกการดมกลิ่น
- ฝึกการชิมรส
- ฝึกการสัมผัส

กิจกรรมพัฒนาการแสดงละครสร้างสรรค์
- วิธีการฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย
- วิธีการฝึกการใช้เสียง
- วิธีการฝึกการใช้บทบาทสมมติและการใช้ภาษา

การเขียนบทละคร
- บทละครที่เป็นแบบฉบับ
- บทละครที่ไม่เป็นแบบฉบับ
- บทละครเพื่อการศึกษา
- บทละครแบบการแสดงสด

องค์ประกอบของบทละคร
- โครงเรื่อง
o จุดหักเหและจุดจบ
o จุดเริ่มปัญหา
o การดำเนินเรื่อง
o เปิดเรื่อง
- ตัวละคร
o การตอบสนองของผู้ชม
o การแสดงอารมณ์
o การสวมบทบาท
o บุคลิกตัวละคร
- แก่นเรื่อง
o มีความเป็นเอกภาพ
o สื่อความชัดเจน
o ข้อคิดที่ได้
- บทพูด (การใช้ภาษา)
o อายุตัวละคร
o การศึกษาตัวละคร
o ยุคสมัยละคร
o ฐานะตัวละคร
- ภาพและเทคนิค (ลีลาตัวละคร)
o การสื่ออารมณ์
o บทสนทนา
o บทบาท
ฝ่ายจัดการแสดง บทบาทและหน้าที่ของฝ่ายจัดการแสดง
- ผู้อำนวยการแสดง
- ผู้กำกับการแสดง
- ผู้กำกับเวที
- ผู้เขียนบท
- ผู้จัดการฝ่ายธุรการ
- ฝ่ายออกแบบ
- ผู้แสดง

2. การศึกษาและวิเคราะห์บทละครและการแสดง
    2.1 เพลงประกอบ
    2.2 ตอนท้ายเรื่อง
    2.3 ดำเนินเรื่อง
    2.4 เริ่มเรื่อง
3. การรู้จักตนเองผ่านกิจกรรมละคร





3 ความคิดเห็น:

  1. ดีมาก!!!!!

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ10 มกราคม 2558 เวลา 20:34

    goodddddddddddd

    ตอบลบ
  3. zeed slot168 ของพวกเรา วันนี้สามารถ ช่วยเพิ่มเดิมพันที่เหมาะสมที่สุด ให้กับนักร้องเพลงทุกคน pg slot สำหรับเพื่อการเลือกเข้าใช้บริการตรงนี้ กันแน่ๆ ค้ำประกันได้เลยว่าการสร้างรายได้

    ตอบลบ

ผู้ติดตาม



วันอาสาฬหบูช


เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน


อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?



ลักษณะวลีและประโยคพื้นฐาน

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี

เรียนรู้จากนิราศ

เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ 1

ระบบคอมพิวเตอร์

การตากข้าว สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

คุณสมบัติของรัฐมนตรี

อาณาเขตประเทศไทย

Adjective ตำแหน่งของคุณศัพท์ ( Position )
ทำไมแมลงปอต้องบินไปแตะผิวน้ำ
(อ่าน 148)
ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"
(อ่าน 518)
นวดแก้ปวดไม่ใช้มือ ศาสตร์บำบัดล้านนา
(อ่าน 1021)
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
(อ่าน 1307)
ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
(อ่าน 1302)
วิธีปลูกหอมญี่ปุ่น
(อ่าน 257)
ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง
(อ่าน 641)
"มะรุม" พืชมหัศจรรย์
(อ่าน 2533)
เลค ฮิลเลอร์ ทะเลสาบสีชมพู ประเทศออสเตรเลีย
(อ่าน 1647)
10 เรื่องที่ควรรู้ ก่อนคิดจะเลี้ยง "ไซบีเรียน ฮัสกี้"
(อ่าน 398)
มาทำความรู้จัก "พริกหวาน" กันเถอะ
(อ่าน 428)
คุณประโยชน์ของ "มะเขือเทศ" ที่ดีต่อร่างกาย
(อ่าน 1670)