บุคคลใดเข้ามาศึกษาแล้ว กรุณากดแสดงความคิดเห็น แล้วแจ้งชื่อ-นามสกุล ระดับชั้น เลขที่ ด้วยครับ จะได้ทราบว่าใครเข้า มาศึกษาแล้ว
การบ้าน วิชาเลือกเพิ่มเติมรายวิชานาฏศิลป์พื้นเมือง รหัสวิชา ศ 23209 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
1. ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาสาระ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ในหน้า Web site นี้ หรือ Web site ต่างๆ แล้วจดบันทึกลง ในสมุด พร้อมกับเขียนที่มาของเว็ปไซด์ (กำหนดส่งสมุดวันที่ 24 กรกฎาคม 2555) (อ่านแล้วทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์กับงานที่ครูสั่ง)
ขั้นตอนการทำงาน
- เขียนชื่อหน้าปก วิชา ครูผู้สอนให้เรียบร้อย (ไม่เขียนมาตัดคะแนน)
- เขียนวัน/เดือน/ปี ที่ทำงานให้เรียบร้อย
- เขียนชื่อเรื่องว่า การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค
- จดบันทึกการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค โดยแบ่งเป็นภาค พร้อมมีภาพประกอบ ทำลงในสมุด (การแสดงแต่ละภาคไม่ต่ำกว่า 10 ชุดการแสดง)
- กรุณาขีดเส้นใต้และทำงานให้เรียบร้อย เขียนให้ครูอ่านออก
- เมื่อทำงานเสร็จให้ผู้ปกครองลงลายมือชื่อรับรอง หน้าสุดท้ายของงานที่ทำ
ความหมายของนาฏศิลป์พื้นเมือง
การแสดงที่เน้นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ท่ารำ ลีลา ดนตรี ได้รับการสั่งสมสืบทอดต่อ ๆ กันมาจากบรรพบุรุษ ที่ได้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นจากพื้นฐานของชาวบ้านตามสภาพความเป็นอยู่ การแต่งกายจะแต่งตามลักษณะท้องถิ่นและพัฒนามาเป็นนาฏศิลป์พื้นเมือง
ความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง
สังคมชาวบ้านเป็นสังคมเกษตรกรรม อาศัยธรรมชาติเลี้ยงชีพ จึงมีพิธีกรรม และการละเล่นเพื่อขอพรให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านมีชีวิตแบบเรียบง่ายสะท้อนออกมาเป็นศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นความบันเทิงเกิดขึ้นเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เริ่มจากการใช้ภาษาที่คล้องจอง และพัฒนามาเป็นเพลงชาวบ้าน ร้องถ่ายทอดกันมา นาฏศิลป์พื้นเมืองแต่ละภาคจะมีที่มาจากสภาพสังคม ความเชื่อ พิธีกรรม และความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง
1. สภาพภูมิศาสตร์
•1.1 ภาคกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเหมาะแก่การทำนา เพาะปลูก ทำไร่ ทำสวน การแสดงพื้นเมืองจึงมีการบวงสรวงขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มีพืชพันธ์ธัญญาหารสมบูรณ์
•1.2 ภาคเหนือ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมีพันธ์ไม้ที่สวยงาม นานาชนิด ส่งผลให้ชาวเหนือยิ้มแย้มแจ่มใส นาฏศิลป์พื้นเมืองจึงมีลีลาเชื่องช้า ละเมียดละไม
•1.3 ภาคอีสาน ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบค่อนข้างแห้งแล้ง ส่งผลให้นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน ฟ้อนรำเพื่อเซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นการฟ้อนรำเพื่อความเป็นสิริมงคล และสร้างความสนุกสนานในเทศกาลต่าง ๆ
•1.4 ภาคใต้ ภูมิประเทศติดต่อกับมลายูจึงทำให้รับเอาศิลปะของมลายูมาผสมผสานกับท้องถิ่น นาฏศิลป์พื้นเมืองจึงมีลักษณะเป็นการเต้นรำตามจังหวะดนตรีเน้นลีลาการเคลื่อนไหวของมือและเท้า
2. ขนบธรรมเนียมประเพณี นาฏศิลป์พื้นเมืองของแต่ละภาคจะสะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
3. ค่านิยมและความเชื่อ วิถีชีวิตของชาวบ้านผูกพันกับความเชื่อถือและศรัทธาในศาสนา
4. การทำมาหาเลี้ยงชีพ สังคมชาวบ้านมีอาชีพเป็นเกษตรกร หลังจากการทำงานหนักก็ผ่อนคลายความเครียดด้วยการร้องรำทำเพลงจนเกิดเป็นเพลงพื้นบ้านและการละเล่น
5. วัฒนธรรมต่างชาติ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แต่ละภาครับอิทธิพลของการแสดงจากประเทศเพื่อนบ้าน
เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ ฟ้อน “ การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณี หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนเจิง
เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ ฟ้อน “ การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณี หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนเจิง
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยล้านนา ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทยทำให้นาฏศิลป์ หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แสดงถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า และทำนองเพลงประกอบกับความไพเราะของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีความเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็น พิณเปี๊ยะหรือพิณเพียะ สะล้อ ซอ ซึง และกลอง ที่ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่างๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัย และการตบมะผาบการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ นอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยล้านนา ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังมีลักษณะการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชายา พระนามว่า เจ้าดารารัศมี พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าแม่ทิพเกสร เจ้าเมืองเชียงใหม่ ทำให้อิทธิพลการแสดงของภาคเหนือในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีมีลักษณะของภาคกลางปะปนอยู่บ้าง ทำให้สามารถแบ่งลักษณะการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือได้เป็น ๓ ลักษณะ
๑.ลักษณะการฟ้อนแบบพื้นเมืองเดิม เป็นการแสดงที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น
๒.ลักษณะการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น อาทิ พม่า ไทยใหญ่ เงี้ยว เช่น ฟ้อนไต ฟ้อนโต ฟ้อนเงี้ยว เป็นต้น
๓.ลักษณะการฟ้อนแบบคุ้มหลวง เป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นในคุ้มของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งมีลักษณะการฟ้อนของภาคกลางผสมอยู่ เช่น ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนน้อยใจยา เป็นต้น
ปัจจุบันการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ สร้างสรรค์จากท่า และทำนองเพลงพื้นเมืองล้านนา ใช้หัตกรรมพื้นบ้านเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง เช่น ฟ้อนผาง ฟ้อนที เป็นต้น
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
ฟ้อนผีมด ฟ้อนผีเม็ง เป็นการบูชาผีบรรพบุรุษ-

ฟ้อนกิงกะหลา เป็นการฟ้อนเรียนแบบนก มีลักษณะเป็นการรำคู่ เกี้ยวพาราสีหรือหยอกล้อเล่นหัวกัน
==============================================
ฟ้อนผีนางดัง เป็นการฟ้อนของชาวล้านนา นิยมเล่นในเทศกาลตรุษสงกรานต์
==============================================
ฟ้อนเจิง เป็นการฟ้อนที่แสดง ถึงศิลปะการป้องกันตัวด้วยมือเปล่า
ฟ้อนเจิง
ฟ้อนเจิง เป็นการร่ายรำตามกระบวนท่าตามแบบแผน ที่แสดงออกถึงศิลปะในการต่อสู้ของชาย ซึ่งท่ารำนั้นมีทั้งท่าหลักและท่าที่ผู้รำแต่ละคน จะใช้ความสามารถเฉพาะตัว พลิกแพลงให้ดูสวยงาม
ในระยะแรก ฟ้อนเจิง หมายรวมเอาทั้งการฟ้อนประกอบอาวุธและไม่มีอาวุธ โดยเรียกลักษณะการฟ้อนตามนั้นคือ
ใช้ไม้ฅ้อน หรือไม้พลองประกอบการรำ เรียกว่า ฟ้อนเจิงไม้ฅ้อน
ใช้หอกประกอบการร่ายรำ เรียกว่า ฟ้อนเจิงหอก
ใช้ดาบประกอบการร่ายรำ เรียกว่า ฟ้องเจิงดาบ
ใช้ลา คือดาบวงพระจันทร์ประกอบการร่ายรำ เรียกว่า ฟ้อนเจิงลา ร่ายรำด้วยมือเปล่า เรียกว่า ฟ้อนเจิงมือ
ต่อมา คำว่าเจิง ในการฟ้อนประกอบอาวุธต่าง ๆ ได้กร่อนหายไป และเรียกการฟ้อนเจิงประกอบอาวุธต่าง ๆ ตามชื่อของอาวุธนั้น ๆ เช่น ฟ้อนไม้ฅ้อน ฟ้อนหอก ฟ้อนดาบ ฟ้อนลา และเรียกการร่ายรำในลีลาการต่อสู้ด้วยมือเปล่านี้ว่า ฟ้อนเจิง
การฟ้อนเจิงประกอบอาวุธบางประเภทนั้น ในระยะหลังไม่ค่อยได้รับความนิยม เช่น ฟ้อนเจิงไม้ฅ้อน และฟ้อนเจิงหอก แต่อาจพบอยู่บ้างในการพิธีฟ้อนผี ส่วนการฟ้อนเจิงลานั้นไม่ปรากฏว่ามีการฟ้อนให้เห็น ส่วนการฟ้อนเจิงดาบนั้นได้รับความนิยมมาก ทั้งในการแสดงประกอบการตีกลองอย่างในขบวนแห่ครัวทานเข้าวัด และเป็นที่นิยมมากในการแสดงเชิงศิลปวัฒนธรรมบนเวที สำหรับการฟ้อนเจิงมือ หรือฟ้อนเจิงนั้น จะมีลูกเล่นได้มากกว่าการฟ้อนประกอบอาวุธ เพราะคล่องตัวมากกว่าที่จะต้องแสดงการรำอาวุธควบคู่กับการฟ้อน
การฟ้อนเจิงนี้ มักดำเนินร่วมกับตบบ่าผาบ หรือตบขนาบ คือการตบไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้เกิดเสียงดัง การฟ้อนเจิงหรือฟ้อนรำแสดงลีลาประกอบการตบไปตามร่างกายดังกล่าว มักเรียกรวมกันว่า ตบบ่าผาบฟ้อนเจิง และมักเป็นการเริ่มต้นก่อนที่จะมีการฟ้อนอาวุธ หรือกิจกรรมอื่นที่คล้ายคลึงกัน
การเรียนฟ้อนเจิงนั้น ผู้เรียนต้องหามื้อจั๋นวันดี เป็นวันอุดมฤกษ์ ไปขอเรียนกับครูที่มีความสามารถ โดยต้องมีการขึ้นขันหรือ การจัดเครื่องคารวะ คือกรวยดอกไม้ธูปเทียน พลู หมาก ข้าวเปลือก ข้าวสาร สุรา ผ้าขาว ผ้าแดง กล้วย อ้อย มะพร้าว และค่าครูตามกำหนด ครูบางท่านอาจเสี่ยงทายโดยให้ผู้จะสมัครเป็นศิษย์นำไก่ไปคนละตัว ครูเจิงคือผู้สอนฟ้อนเจิงจะขีดวงกลมที่ลานบ้านแล้วเชือดคอไก่ และโยนลงในวงนั้น หากไก่ของผู้ใดดิ้นออกไปตายนอกเขตวงกลม ก็คือว่าผีครูไม่อนุญาตให้เรียน และหากเรียนจนสำเร็จแล้ว ครูเจิง อนุญาตให้นำวิชาไปใช้ได้เรียกว่าปลดขันตั้ง โดยทำพิธียกขันตั้งคือพานเครื่องสักการะจากหิ้งผีครู แจกธูปเทียนดอกไม้จากในพานให้แก่ศิษย์ เป็นเสร็จพิธี
==============================================
ฟ้อนดาบ เป็นการแสดงถึงศิลปะการป้องกันตัวด้วยมีดดาบ
==============================================
ฟ้อนจ๊าด เป็นการฟ้อนที่เล่นเป็นเรื่องราวแบบโบราณ นิยมแสดงในงานศพและงานเทศกาลต่างๆ
==============================================
ตบมะผาบ เป็นการฟ้อนด้วยมือเปล่า โดยใช้มือตบไปตามร่างกายด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้เกิดเสียงดัง
==============================================
ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมที่มีความสวยงาม โดยผู้ฟ้อนสวมเล็บสีทอง
==============================================
ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับฟ้อนเล็บ แต่จะฟ้อนเวลากลางคืน โดยผู้ฟ้อนจะถือเทียน
==============================================
ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นการฟ้อนที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมีทรงประดิษฐ์ร่วมกับครูช่างฟ้อนของพม่า โดยใช้ท่ารำของราชสำนักพม่าผสมท่าฟ้อน โดยใช้ท่ารำของสำนักพม่าผสมท่าฟ้อนของไทย
ฟ้อนล่องน่าน หรือ ฟ้อนน้อยใจยา เป็นการฟ้อนเพื่อใช้ประกอบการแสดงละครเรื่องน้อยใจยา มีลักษณะการรำคู่ระหว่างชายกับหญิง
==============================================
ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนที่แสดงถึงกรรมวิธีการทอผ้าไหม ซึ่งเป็นอาชีพของชาวไทยภาคเหนือ
| |||||||||
ปี พ.ศ.๒๕๑๔ กรมศิลปากรได้เปิดโรงเรียนนาฏศิลป ส่วนภูมิภาคแห่งแรกขึ้นที่ จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่) มีนโยบายที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ธำรงรักษาศิลปะพื้นเมือง และเสาะแสวงหา รวบรวม ศิลปะพื้นเมืองที่กำลังจะสูญหายไป ฟ้อนสาวไหมจึงเป็นเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งที่วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่พยายามสืบเสาะหาเพื่อนำมาผดุงรักษาไว้ ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ก็ได้เชิญนางพลอยศรี สรรพศรี มาถ่ายทอดท่าฟ้อนสาวไหมให้แก่คุณครูนาฏศิลป์ละคร ๓ คน คือ นางสาวฉวีวรรณ สบฤกษ์ (นุชนวล) นsางสาวอัจฉรา สุภาไชยกิจ และนางสามปอยดง เครือนันตา ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ เชิญนางคำ กาไวย์ มาสอนการตีกลองสะบัดชัย นายคำเป็นผู้มีความรู้ และความสามารถสืบเสาะหาวิธีฟ้อนสาวไหมได้ทั้งชาย และหญิงดังนั้นทางวิทยาลัยจึงได้ปรับปรุงท่าของนางพลอยศรี และท่าของนายคำเข้าด้วยกัน ให้มีลีลาอ่อนช้อย สวยงาม โดยอยู่ในความควบคุมของนางสาวประนอม ทองสมบุญ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลันนาฏศิลปเชียงใหม่ นิยมแสดงมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งใช้ผู้หญิงแสดงล้วน
|
ที่มา สำนักกรมการสังคีต
==============================================
==============================================
ฟ้อนเก็บใบชา เป็นการฟ้อนที่แสดงถึงกรรมวิธีการเก็บใบชา ซึ่งเป็นอาชีพของชาวไทยภาคเหนือ
==============================================
==============================================
ฟ้อนที เป็นการฟ้อนโดยใช้ผู้แสดงหญิงล้วน แต่งกายพื้นเมือง ใช้ทำนองเพลงเหมยมุงเมือง
===================================================================
ฟ้อนผาง เป็นการฟ้อนโดยใช้ผู้แสดงหญิงล้วน แต่งกายพื้นเมือง อุปกรณ์ประกอบการแสดง คือ ตะคันดินเผาจุดเทียน
==================================
คำว่า “วี” เป็นคำพื้นเมืองของภาคเหนือ แปลว่า “พัด” ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น พัดให้คลายร้อน พัดไล่ยุงหรือแมลง วีของภาคเหนือมีหลายลักษณะ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ได้นำวีมาสร้างสรรค์เป็นชุดการแสดง ครั้งแรกแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและนิทรรศการของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ ณ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔ นายคำ กาไวย์ ครูสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ และศิลปินแห่งชาติ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประดิษฐ์ท่ารำ โดยนำวิธีการและประโยชน์ของการใช้ “วี”ในลักษณะต่าง ๆ ตามท่าทางธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นท่ารำที่อ่อนช้อยแสดงให้เห็นถึงอารมณ์รื่นเริงสนุกสนานของหญิงสาวล้านนา ท่ารำทั้งหมดมี ๑๕ ท่า เช่น ท่าป้าวก๋อยใบ ท่าบัวบาน ท่ารอลม ท่าวีผมตากแดด ท่ายืนกาดกล้าไปมา เป็นต้น
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงประสมของเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ประกอบด้วย สะล้อใหญ่ สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึงใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ปี่จุม กลองพื้นเมือง การแต่งกายของผู้แสดง นุ่งซิ่นตีนจก สวมเสื้อคอกลมเข้ารูปแขนสามส่วน สไบคล้องคอ เครื่องประดับเข็มขัด สร้อยคอ กำไลข้อมือ ต่างหู เกล้าผมมวยสูงดึงช่อผมสูงจากมวยปักปิ่น ดัดแปลงปรับปรุงจากข้อมูลการแต่งกายของหญิงสาวล้านนา จากจิตรกรรมฝาผนักที่วัดพระสิงห์วรวิหารจังหวัดเชียงใหม่ และวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน การแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๑๒ นาที
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว เช่น พลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทิง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง ภาคกลางเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านกสิกรรม และเกษตรกรรม ทำให้เป็นภาคที่มีความสมบูรณ์ ประชาชนมีความเป็นอยู่สุขสบาย การแสดงหรือการละเล่น ที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปในลักษณะที่สนุกสนาน หรือเป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกัน เช่น เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว หรือเป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่
รำกลองยาวหรือรำเถิดเทิง เป็นการแสดงเพื่อความรื่นเริง ในขบวนแห่ต่างๆ ของไทยมีผู้แสดงทั้งชาย และหญิง ออกมรำเป็นคู่ๆ โดยมีผู้ตีกลองประกอบจังหวะ พร้อม ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
รำกลองยาว หรือ เถิดเทิง
ที่มาของภาพ : หนังสือวิพิธทัศนา, สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ (๒๕๔๒, ๗๒)
วีดีทัศน์ การแสดงรำกลองยาวหรือรำเถิดเทิง
ประวัติความเป็นมา ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็นเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า นิยมเล่นกันมาก่อนเมื่อครั้งที่พม่ามาทำสงครามกับไทยในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็จะเล่นสนุกสนานกันด้วยการเล่นต่างๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง เมื่อชาวไทยเห็นว่ารำกลองยาวเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ ทุกบ้านทุกเมืองมาจนทุกวันนี้
เครื่องดนตรี กลองยาว กรับ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
การแต่งกาย
๑. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
๒. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อทรงกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ คาดเข็มขัดทับเสื้อ ใส่สร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้
โอกาสและวิธีการเล่น นิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรืองานแห่แหน ซึ่งต้อง เดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไป รำด้วยก็ได้ เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนมีลานกว้างหรือเหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นกันก่อนพักหนึ่งแล้วเคลื่อนไปต่อ การเล่นเถิดเทิงกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืนด้วย
กลองรำ หมายถึง ผู้ที่แสดงลวดลายในการร่ายรำ
กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนให้จังหวะในการรำ
การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อน คนดูจะได้เห็นความงามและความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมเล่นด้วยก็ตาม จำนวนผู้แสดงแบบนี้จะมีเป็นชุด คือ พวกตีเครื่องประกอบจังหวะ คนตีกลองยืน คนตีกลองรำ และผู้หญิงที่รำล่อ พวกตีประกอบจังหวะ จะร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานในขณะที่ตีด้วย เช่น
“มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า”
“ต้อนเข้าไว้ ต้อนเขาไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่าเอาไปหุงข้าวให้พวกเรากินตะละล้า”
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า”
ที่เรียกการเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกกันตามเสียงกลองยาว กล่าวคือมีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด – เทิง – บ้อง – เทิง – บ้อง” เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอื่น
-----------------------------------------------------------------
ระบำชาวนา เป็นวิถีชีวิตความเป็นมาที่พากันออกมาไถนาหว่าน และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเจริญงอกงาม หลังจากนั้นพากันร้องรำเพลงด้วยความสนุกสนาน
เต้นกำรำเคียว
ที่มาของภาพ : หนังสือวิพิธทัศนา, สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ (๒๕๔๒, ๗๐)
เต้นกำรำเคียว เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้องเล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน ผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ศิลปินของกรมศิลปากรได้ไปฝึกหัดการเล่นเต้นกำรำเคียว จากชาวบ้านตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงการเล่น เพื่อให้เหมาะสมกับการนำออกแสดงในงานบันเทิง โดยให้นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญนาฏดุริยางค์ไทยกรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ แต่งทำนองเพลงประกอบการแสดงตอนต้น ก่อนร้องบทโต้ตอบและตอนจบบทร้อง ผู้แสดงทั้งชายและหญิงมือขวาถือเคียว มือซ้ายกำรวงข้าว ทำท่าตามกระบวนเพลง ร้องเย้าหยอกเกี้ยวพาราสีกัน
บทร้องมีอยู่ ๑๑ บท คือ บทมา ไป เดิน รำ ร่อน บิน ยัก ย่อง ย่าง แถ ถอง และเพลงในกระบวนนี้ผู้เล่น อาจด้นกลอนพลิกแพลงบทร้องสลับรับกันด้วยความสนุกสนาน บางครั้งในการแสดงอาจตัดบทร้องบางบทเพื่อความกระชับ ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงนำและตอนจบ
โอกาสที่เล่น เล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ชาวนามักมีการเอาแรงกัน โดยต่างฝ่ายต่างไปช่วยกันเกี่ยวข้าว จะไม่มีการว่าจ้างกัน ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยวข้าวไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าวประมาณตะวันบ่ายคล้อยแล้ว การเต้นกำรำเคียวจึงเริ่มเล่น
วิธีการเล่น จะแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายชาย เรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิง เรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อ ฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจจะเปลี่ยนไปหลายๆ คน ช่วยกันร้องจนกว่าจะจบเพลง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็ต้องเป็นลูกคู่
การแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย และเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดเอว สวมงอบ และ จะไม่ใส่รองเท้า
ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอก สีดำหรือเป็นสีพื้นก็ได้ และไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
ดนตรีที่ใช้ ตามแบบฉบับของชาวบ้านแบบเดิมไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะปรบมือ และร้อง เฮ้ เฮ้ว ให้เข้าจังหวะ แต่เมื่อกรมศิลปากรนำไปดัดแปลง ก็ใช้ระนาดเป็นเสียงดนตรีประกอบในท่าเดินเข้า-ออก
สถานที่แสดง เดิมแสดงกลางแจ้ง ที่บริเวณท้องนาที่เกี่ยวข้าวกัน ปัจจุบันมีผู้สนใจการแสดงชนิดนี้มากขึ้นจึงนำมาแสดงบนเวที
จำนวนคน แต่เดิมไม่จำกัดผู้เล่น เพียงแต่ให้ชายหญิงจับคู่กันเป็นคู่ๆ ต่อมากรมศิลปากรได้จำกัดผู้เล่นเพียง ๕ คู่ เพื่อให้ครบทำนองและเนื้อเพลง
------------------------------------------------------------
รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า เป็นการละเล่นที่แสดงวิธีชีวิตอันสนุกของชาวบ้านหมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการร้องรำ เกี้ยวพาราสีระหว่างชาย-หญิง เริ่มการแสดงด้วยการประโคมกลองยาว จบแล้วผู้แสดงชาย-หญิง ออกรำทีละคู่
รำกลองยาวหรือรำเถิดเทิง เป็นการแสดงเพื่อความรื่นเริง ในขบวนแห่ต่างๆ ของไทยมีผู้แสดงทั้งชาย และหญิง ออกมรำเป็นคู่ๆ โดยมีผู้ตีกลองประกอบจังหวะ พร้อม ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง

รำกลองยาว หรือ เถิดเทิง
ที่มาของภาพ : หนังสือวิพิธทัศนา, สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ (๒๕๔๒, ๗๒)
วีดีทัศน์ การแสดงรำกลองยาวหรือรำเถิดเทิง
ประวัติความเป็นมา ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็นเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า นิยมเล่นกันมาก่อนเมื่อครั้งที่พม่ามาทำสงครามกับไทยในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็จะเล่นสนุกสนานกันด้วยการเล่นต่างๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง เมื่อชาวไทยเห็นว่ารำกลองยาวเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ ทุกบ้านทุกเมืองมาจนทุกวันนี้
เครื่องดนตรี กลองยาว กรับ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
การแต่งกาย
๑. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
๒. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อทรงกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ คาดเข็มขัดทับเสื้อ ใส่สร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้
โอกาสและวิธีการเล่น นิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรืองานแห่แหน ซึ่งต้อง เดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไป รำด้วยก็ได้ เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนมีลานกว้างหรือเหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นกันก่อนพักหนึ่งแล้วเคลื่อนไปต่อ การเล่นเถิดเทิงกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืนด้วย
กลองรำ หมายถึง ผู้ที่แสดงลวดลายในการร่ายรำ
กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนให้จังหวะในการรำ
การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อน คนดูจะได้เห็นความงามและความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมเล่นด้วยก็ตาม จำนวนผู้แสดงแบบนี้จะมีเป็นชุด คือ พวกตีเครื่องประกอบจังหวะ คนตีกลองยืน คนตีกลองรำ และผู้หญิงที่รำล่อ พวกตีประกอบจังหวะ จะร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานในขณะที่ตีด้วย เช่น
“มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า”
“ต้อนเข้าไว้ ต้อนเขาไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่าเอาไปหุงข้าวให้พวกเรากินตะละล้า”
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า”
ที่เรียกการเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกกันตามเสียงกลองยาว กล่าวคือมีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด – เทิง – บ้อง – เทิง – บ้อง” เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอื่น
-----------------------------------------------------------------
ระบำชาวนา เป็นวิถีชีวิตความเป็นมาที่พากันออกมาไถนาหว่าน และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเจริญงอกงาม หลังจากนั้นพากันร้องรำเพลงด้วยความสนุกสนาน

เต้นกำรำเคียว
ที่มาของภาพ : หนังสือวิพิธทัศนา, สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ (๒๕๔๒, ๗๐)
เต้นกำรำเคียว เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้องเล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน ผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ศิลปินของกรมศิลปากรได้ไปฝึกหัดการเล่นเต้นกำรำเคียว จากชาวบ้านตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงการเล่น เพื่อให้เหมาะสมกับการนำออกแสดงในงานบันเทิง โดยให้นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญนาฏดุริยางค์ไทยกรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ แต่งทำนองเพลงประกอบการแสดงตอนต้น ก่อนร้องบทโต้ตอบและตอนจบบทร้อง ผู้แสดงทั้งชายและหญิงมือขวาถือเคียว มือซ้ายกำรวงข้าว ทำท่าตามกระบวนเพลง ร้องเย้าหยอกเกี้ยวพาราสีกัน
บทร้องมีอยู่ ๑๑ บท คือ บทมา ไป เดิน รำ ร่อน บิน ยัก ย่อง ย่าง แถ ถอง และเพลงในกระบวนนี้ผู้เล่น อาจด้นกลอนพลิกแพลงบทร้องสลับรับกันด้วยความสนุกสนาน บางครั้งในการแสดงอาจตัดบทร้องบางบทเพื่อความกระชับ ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงนำและตอนจบ
โอกาสที่เล่น เล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ชาวนามักมีการเอาแรงกัน โดยต่างฝ่ายต่างไปช่วยกันเกี่ยวข้าว จะไม่มีการว่าจ้างกัน ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยวข้าวไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าวประมาณตะวันบ่ายคล้อยแล้ว การเต้นกำรำเคียวจึงเริ่มเล่น
วิธีการเล่น จะแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายชาย เรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิง เรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อ ฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจจะเปลี่ยนไปหลายๆ คน ช่วยกันร้องจนกว่าจะจบเพลง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็ต้องเป็นลูกคู่
การแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย และเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดเอว สวมงอบ และ จะไม่ใส่รองเท้า
ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอก สีดำหรือเป็นสีพื้นก็ได้ และไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
ดนตรีที่ใช้ ตามแบบฉบับของชาวบ้านแบบเดิมไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะปรบมือ และร้อง เฮ้ เฮ้ว ให้เข้าจังหวะ แต่เมื่อกรมศิลปากรนำไปดัดแปลง ก็ใช้ระนาดเป็นเสียงดนตรีประกอบในท่าเดินเข้า-ออก
สถานที่แสดง เดิมแสดงกลางแจ้ง ที่บริเวณท้องนาที่เกี่ยวข้าวกัน ปัจจุบันมีผู้สนใจการแสดงชนิดนี้มากขึ้นจึงนำมาแสดงบนเวที
จำนวนคน แต่เดิมไม่จำกัดผู้เล่น เพียงแต่ให้ชายหญิงจับคู่กันเป็นคู่ๆ ต่อมากรมศิลปากรได้จำกัดผู้เล่นเพียง ๕ คู่ เพื่อให้ครบทำนองและเนื้อเพลง
|
------------------------------------------------------------
รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า เป็นการละเล่นที่แสดงวิธีชีวิตอันสนุกของชาวบ้านหมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการร้องรำ เกี้ยวพาราสีระหว่างชาย-หญิง เริ่มการแสดงด้วยการประโคมกลองยาว จบแล้วผู้แสดงชาย-หญิง ออกรำทีละคู่

รำเหย่อย
ที่มาของภาพ : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๑๓ (๒๕๔๙, ๑๙๗)
รำเหย่อย เป็นการเล่นพื้นบ้านของหมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นิยมเล่นในฤดูกาลต่างๆ เฉพาะในบางท้องถิ่นนอกตัวจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการเล่นร้องรำเกี้ยวพาราสีหยอกเย้าโต้ตอบกันระหว่างชายกับหญิง
การแสดงรำเหย่อย เริ่มด้วยประโคมกลองยาว ร่วมกับเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และปี่ จังหวะตีกลองยาวเปลี่ยนหลากหลายลูก เมื่อนักดนตรีประโคมกลองจบลง ผู้รำฝ่ายชายร้องเชิญชวนฝ่ายหญิงให้เล่นรำพาดผ้า แล้วนำผ้าคล้องไหล่ไปพาดบ่าฝ่ายหญิงออกมารำคู่กันทีละคู่ผลัดเปลี่ยนกันไปจนครบจำนวนคู่ในหมู่ผู้แสดง ทั้งสองฝ่ายด้นกลอนสดร้องโต้ตอบกันเข้าจังหวะดนตรี
ผู้แสดงแต่งกายแบบพื้นบ้านภาคกลาง ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนต่างสีกัน สวมเสื้อคอกลมแขนสั้นเหนือศอก มีผ้าคาดเอวและพาดไหล่ หญิงนุ่งผ้าพิมพ์ลายโจงกระเบนหลากสีกัน สวมเสื้อคอกลมแขนยาว ห่มสไบทับเสื้อ มีเครื่องประดับได้แก่ เข็มขัด สร้อยคอ สร้อยข้อมือ
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ “เช่น เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรี พื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องและกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย
2. กลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือ รำกระทบสาก รำกระโน๊บติงต็อง หรือ ระบำตั๊กแตนตำข้าว รำอาไย หรือ รำตัด หรือ เพลงอีแซวแบบภาคกลาง วงดนตรีที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรีก็คือ ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ศิลปะการแสดงภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายภาคเหนือ ในการรวมกลุ่มของชนชาติต่างๆ เช่น พวกไทยลาว ภูไทย ไทยพวน แสก โซ่ แต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างตามเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ แต่ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นการแสดงที่เกิดขึ้นเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา และความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ การร่ายรำจะมีลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ก้าวเท้า การวาดแขน การยกเท้า การส่ายมือ การส่ายสะโพก ที่เกิดขึ้นจากท่าทางอันเป็นธรรมชาติที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน แล้วนำมาประดิษฐ์หรือปรุงแต่งให้สวยงามตามแบบท้องถิ่นอีสานเช่นทำท่าทางลักษณะเเอ่นตัวแล้วโยกตัวไปมา เวลาก้าวตามจังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว ขยับไหล่ เน้นความสนุกสนาน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานจะมีทั้งการแสดงที่เป็นแบบดั่งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา และการแสดงที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นเป็นไปตามความถนัดหรือความสามารถของแต่ละคน โดยไม่มีระเบียบแบบแผน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่ 1.กันตรึม เป็นการแสดงเพื่อบูชาหรือบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ 2. ฟ้อนภูไท เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และฟ้อนในงานประเพณีต่างๆ 3. เซิ้งตังหวาย เป็นการแสดงเพื่อถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือในงานพิธีกรรมต่างๆ 4.เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการขอฝน 5. เรือมจับกรับ เป็นการแสดงที่ใช้ผู้ชายถือกรับออกมาร่ายรำไปตามจังหวะเพลงโดยไม่มีแบบแผน หรือทำท่าที่แน่นอน เป็นการรำเพื่อความสนุกสนาน 6. เรือมอันเร หรือ กระทบไม้ บางทีก็เรียกว่า แสกเต้นสาก เป็นการแสดงที่ใช้ไม้ไผ่มากระทบกันตามจังหวะเพลง แล้วผู้รำก็กระโดดข้ามไม้ด้วยท่าทางต่างๆ 7.มวยโบราณ เป็นศิลปะการต่อสู้ที่แสดงถึงความกล้าหาญ เข้มแข็ง นิยมแสดงในเทศกาลต่างๆ

เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้ อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่ม คือ
1.วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา
2.วัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำเป็ง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด กลองโทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ในรำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาชีพต่างๆ เช่น ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ เป็นต้น
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ด้วยเหตุที่ภาคใต้เป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาลาเชีย และเป็นดินแดนที่ติดทะเล ทำให้เกิดการผสมผสานทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรมจากกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ เกี่ยวโยงถึงศาสนาและพิธีกรรม จนทำให้นาฏศิลป์ และดนตรีในภาคใต้มีลักษณะที่เป็นเครื่องบันเทิงทั้งในพิธีกรรม และพิธีชาวบ้าน รวมทั้งงานรื่นเริงโดยมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีจังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ และเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีให้จังหวะเป็นสำคัญ ส่วนลีลาท่ารำจะมีความคล่องแคล่วว่องไว สนุกสนาน การแสดงพื้นเมืองภาคใต้มีทั้งแบบพื้นเมืองเดิม และแบบประยุกต์ที่ได้แนวความคิดมาแล้วพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบใหม่ หรือรับมาบางส่วนแล้วแต่งเติมเข้าไป
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ได้แก่
ลิเกป่า เป็นการแสดงพื้นเมืองภาคใต้อีกอย่างหนึ่ง นิยมแสดงในงานทั่วไปหรือใช้ในงานแก้บน
==================================================
ประวัติความเป็นมา